Home Search
ภาษี - search results
If you're not happy with the results, please do another search
ทำความรู้จักกับ ภาษีป้ายโฆษณา
หลายคนอาจสงสัยว่าป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่เราเห็นหรือป้ายโฆษณาตามตึกตามถนนต่างๆนั้น เขาเสีย ภาษี กันยังไงเท่ากันไหมและมีข้อกำหนดในการเสียภาษีอย่างไร วันนี้เรามาทำความรู้จักกับภาษีป้ายกันครับ
ลักษณะป้ายแบบใดบ้างที่ต้องเสียภาษี ?
ป้ายที่จะต้องเสียภาษี คือป้ายที่มีเครื่องหมายการค้า โลโก้ หรือสัญลักษณ์ที่บอกถึงการหารายได้ รวมถึงการแสดงชื่อต่างๆที่เป็นการโฆษณาที่มีรายได้โดยไม่ได้กำหนดว่าจะอยู่กับวัตถุชนิดใด ไม่ว่าจะเป็นป้ายขนาดใหญ่ หรือเพียงป้ายไม้เล็กๆตามข้างทางก็ต้องเสียภาษีเช่นกัน
ป้ายที่ต้องเสียภาษีใครต้องเป็นคนจ่าย ?
แบ่งผู้รับผิดชอบจ่ายภาษีได้เป็นเป็น 2 กรณี แล้วแต่ข้อตกลง ในการขึ้นป้ายโฆษณานั้น คือ
ผู้ที่เป็นเจ้าของป้ายนั้นต้องเป็นผู้จ่ายภาษีนั้น
ผู้ที่เป็นเจ้าของสภานที่ ที่ ติดตั้งป้ายนั้นต้องเป็นผู้จ่าย
อัตราการคิดภาษี
ภาษีป้ายประเภทที่ 1...
ครม.ไฟเขียว แก้ กม.เว้นภาษีโอนอสังหาฯ ไม่เกิน 20ล้าน ให้ลูกในสายเลือด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 10 พฤษภาคม 2559 ครม.เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่...) พ.ศ. (มาตรการปรับปรุงการยกเว้นเงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน)
ทั้งนี้ เป็นการแก้ไข พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่40) พ.ศ.2558 เพื่อจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ที่มีเงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
ซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะเงินได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อบุตรหนึ่งคนตลอดปีภาษี โดยให้คิดเฉพาะเงินได้ที่ได้รับมาตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.2559
เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับการให้อสังหาริมทรัพย์
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพประกอบจาก ...
มนุษย์เงินเดือน เฮ..!! เงินเดือนไม่ถึง 26,000 บาท ไม่เสียภาษี
มาดูโครงสร้าง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2560
ขอขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก kapook.com และ กรมสรรพากร
สำหรับท่านใดที่สนใจอยากซื้อ ขายบ้าน คอนโด หรือ ทาวน์เฮ้าส์ มือ1 มือ 2 สามารถเข้าดูได้เลยที่ https://www.dotproperty.co.th
ครม.ไฟเขียวปรับโครงสร้าง “ภาษีบุคคลลดหย่อน1แสน”
ครม.ปรับโครงสร้าง ลดหย่อนภาษี บุคคล 1แสน-ผู้มีเงินเดือนไม่ถึง 26,000 ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เริ่มใช้ปีภาษี 60 เป็นต้นไป
วันอังคารที่ 19 เมษายน 2559 เวลา 16:02 น. นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมครม.
มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีภาษี 60 เป็นต้นไป
ซึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ปีละ 32,000...
ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติมาตรการภาษีกระตุ้นท่องเที่ยวช่วงเทศกาลสงกรานต์ 9-17 เมษายน ลดหย่อนไม่เกิน 15,000 บาท
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า เมื่อวันที่ 29 มีนาคม มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอคือลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายกินเที่ยวช่วงเทศกาลสงกรานต์ไม่เกิน 15,000 บาท เป็นเวลา 9 วัน ตั้งแต่วันที่ 9-17 เมษายน 2559 คาดว่าจะทำให้สูญเสียรายได้ทางตรง 1,500...
รู้หรือยัง บ้านหลังแรกลดหย่อนภาษีได้
สำหรับใครที่กำลังมีความคิดจะซื้อบ้านในปีนี้โดยที่ยังไม่เคยเป็นเจ้าของบ้าน มาก่อน วันนี้เรามีวิธีทำให้บ้านหลังใหม่ของคุณ ช่วย ลดหย่อนภาษี ให้กับคุณได้มาฝากกันครับ
บ้านแบบไหนลดหย่อนภาษีได้
บ้านที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีกรณีบ้านหลังแรกได้นั้น ต้องเป็นบ้านพร้อมที่ดิน หรือเป็นคอนโดฯ จะเป็นมือ หนึ่งหรือมือสองก็ได้ แต่ต้องมีราคาซื้อขายไม่เกิน 3 ล้านบาท และจะซื้อด้วยเงินสด หรือเงินผ่อนก็ได้ แต่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในช่วง 13 ตุลาคม 2558 - 31 ธันวาคม 2559 ดังนั้น...
ภาษีมรดกปรับใหม่ มีอะไรเปลี่ยนแปลง
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. เผยว่า ทาง ครม. มีมติเห็นชอบ ตามที่กระทรวงได้เสนอเรื่องกฎหมายลำดับรองออกตามความในพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีมรดก พ.ศ.2558 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ.2558 อันประกอบด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการแจ้งการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์โดยทางมรดก ซึ่งออกเป็นร่างพระราชกฤษฎีกาจำนวน 1 ฉบับ และร่างกฎกระทรวงจำนวน...
ภาษีธุรกิจเฉพาะ: ข้อปลีกย่อยที่อาจทำให้คุณกำไรน้อยลง (ตอนที่ 2)
จากบทความตอนที่แล้ว ที่กล่าวถึงลักษณะของธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องมีการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในเบื้องต้นไปแล้ว ในครั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มเติมในส่วนของรายละเอียดของค่าใช้จ่าย และภาษีที่ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบ อันเกิดจากการขายอสังหาริมทรัพย์นั้น
//ภาษีและค่าธรรมเนียมในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
การทำธุรกรรมซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น มีการกำหนดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบเอาไว้เป็นหลักคร่าวๆ ได้ดังต่อไปนี้
-ค่าจดจำนองที่ดิน
-ค่าธรรมเนียมการโอน
-ค่าอากร
-ภาษีธุรกิจเฉพาะ
-ภาษีเงินได้ส่วนบุคคล
ในที่นี้ สิ่งที่น่าสนใจของค่าธรรมเนียมในการดำเนินธุรกรรมหนึ่งๆ ด้านอสังหาริมทรัพย์ที่มักจะมีการตกหล่นและผิดพลาดไปนั้นคือ ค่าอากร และภาษีธุรกิจเฉพาะ เพราะมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ ตามหลักแล้ว ค่าอากรแสตมป์ รัฐจะต้องเรียกเก็บจากผู้ที่มีรายได้จากธุรกรรมการขาย เป็นอัตรา 0.5% ของทุนทรัพย์ทั้งหมด...
ภาษีธุรกิจเฉพาะ: ข้อปลีกย่อยที่อาจทำให้คุณกำไรน้อยลง (ตอนที่ 1)
ในโลกแห่งการขาย ไม่ว่าจะด้วยสินค้าหรือบริการแบบใด นอกเหนือจากผลกำไรหักต้นทุนที่ต้องถูกนำมาพิจารณากันเป็นพื้นฐานแล้วนั้น ค่าใช้จ่ายปลีกย่อยสำหรับการทำธุรกรรมอื่นๆ ก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ อันเป็นหนึ่งในธุรกรรมที่มีข้อกำหนดทางกฎหมายที่อาจจะถูกมองข้ามได้โดยง่าย และหนึ่งในนั้นคือ 'ภาษีธุรกิจเฉพาะ' ที่ถ้าหากไม่ระวังหรือคิดเผื่อเอาไว้ล่วงหน้า อาจจะมีผลทำให้กำไรที่จะได้กลับมา น้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น เช่นนั้นแล้ว การทำความเข้าใจกับรายละเอียดของภาษีดังกล่าว ก็จะช่วยลดความสับสนที่ตามมาได้ในหลายส่วน
Credits: nbcnews.com
//ภาษีธุรกิจเฉพาะ คืออะไร?
ตามหลักเกณฑ์ ในพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 ที่บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม...
ผู้ประกอบการวอนภาครัฐชะลอเก็บภาษีที่อยู่อาศัย หวั่นกระทบภาคอสังหาริมทรัพย์
ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์วอนภาครัฐชะลอมาตรการเก็บภาษีที่อยู่อาศัยอัตราใหม่
หวั่นกระทบกำลังซื้อ พร้อมย้ำต้องมีมาตรการที่ชัดเจนเพื่อรองรับการขยายตัว
นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย และกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจคอนโดมิเนียม บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS กล่าวถึงมาตรการการเก็บภาษีที่อยู่อาศัยอัตราใหม่ ที่จะขึ้นเป็นร้อยละ 0.03 หรือ 600 บาทต่อปีว่า จะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างมาก จึงอยากให้ชะลอออกไปอีกประมาณ 2-3 ปี เพื่อให้มาตรการดังกล่าวมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น...