Search

สร้างบ้าน - search results

If you're not happy with the results, please do another search

ภูมิศาสตร์เรื่องบ้าน สร้างบ้านบนภูเขาต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง

การได้พักผ่อนในบรรยากาศท่ามกลางแมกไม้และสายหมอกบนภูเขานั้นเเชื่อว่าป็นบรรยากาศในฝันสำหรับใครหลายคนเลยทีเดียว แต่บ้านท่ามกลางป่าเขาแบบนี้ย่อมต้องมีข้อควรระวังที่ต่างออกไปจากบ้านในเมืองอย่างแน่นอนและข้อควรระวังเหล่านั้นส่วนใหญ่ก็กำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยของการพักอาศัยเป็นหลัก วันนี้ดอทจึงมานำเสนอสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อคิดจะสร้างบ้านบนภูเขา ท่ามกลางแมกไม้ในป่าสีเขียวจะสร้างบ้านที่ปลอดภัยได้อย่างไรไปดูกัน โครงสร้างบ้านต้องทนต่อความชื้นและไฟ บ้านบนภูเขาต้องสัมผัสกับไอชื้นจากต้นไม้และฝนอยู่บ่อยครั้งทำให้การสร้างบ้านต้องเลือกวัสดุโครงสร้างที่ทนต่อความชื้นได้เป็นอย่างดีเพื่อไม่ให้ความชื้นสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างจนเกิดความเสียหายได้ โดยเฉพาะคนที่ต้องการสร้างบ้านไม้ นอกจากบ้านบนภูเขาจะต้องกันความชื้นได้ดีแล้วยังต้องมีคุณสมบัติการกันไฟอีกด้วย เพราะในฤดูแล้งมักเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าอยู่หลายครั้ง หรือเป็นการเลือกวัสดุเพื่อความปลอดภัยไว้ก่อนเพราะการสร้างบ้านบนเขาย่อมหลายถึงการอยู่ท่ามกลางเชื้อไฟ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นบ้านที่ใช้วัสดุกันไฟสร้างป้องกันความเสียหายของโครงสร้างได้ เน้นความแข็งแรงที่ตัวบ้าน บ้านบนเขาอาจไม่ต้องเผชิญกับพายุมากนักแต่ยังคงต้องสร้างให้แข็งแรงจากโครงสร้างเพราะอันตรายจากภูเขายังคงมีมากมายเช่นไฟป่าในฤดูแล้งหรือน้ำหลากในฤดูฝน ที่สำคัญยังสามารถเกิดความเปลี่ยนแปลงเพราะรากไม้ใหย่ได้ด้วย ดังนั้นหากต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เหล่านี้จึงควรสร้างบ้านให้เน้นความแข็งแรงไว้ที่ตัวบ้าน เว้นระยะห่างระหว่างบ้านกับต้นไม้ อย่างที่เคยได้กล่าวไปถึงเรื่องการสร้างบ้านโดยใช้วัสดุทนไฟเพื่อป้องกันความเสียหายในส่วนโครงสร้าง เรายังมีอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้บ้านปลอดภยจากไฟป่าได้นั่นก็คือการว้นระยะห่างออกจากต้นไม้ในป่าที่รายล้อมอยู่ โดยวัดจากแรงลมว่าควรมีระยะห่างเท่าใดและด้านใดมากที่สุด การเว้นระยะห่างอาจจะไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมดแต่ก็สามารถช่วยลดความเสียหายลงได้บ้างโดยเป็นการชะลอไม่ให้บ้านได้รับผลกระทบจากไฟเร็วเกินไปเพราะวัสดุกันไฟโดยส่วนมากจะกันได้ราว 1-3 ชั่วโมงเท่านั้น บ้านควรสร้างบนเนินสูงกว่าต้นไม้ การสร้างบ้านบนเขานั้นนับว่ามีความเสี่ยงน้อยมากที่จะเจอกับน้ำท่วมและหากศึกษาพื้นที่มาเป็นอย่างดีแลวย่อมไม่ต้องเจอกับภัยที่เกี่ยวกับน้ำอย่างเช่นน้ำหลากเลย แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีภัยอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จึงควรป้องกันไว้ก่อนจะดีที่สุด ซึ่งครั้งนี้เป็นการป้องกันโดยการจัดวางตัวบ้านให้อยู่สูงกว่าระดับพื้นปกติของต้นไม้ เหตุผลที่เราควรวางตัวบ้านให้สูงกว่าระดับพื้นดินของต้นไม้เพื่อเป้นการปกป้องตัวบ้านเพราะหากเกิดน้ำท่วมหรือน้ำหลากเข้ามาต้นไม้จะช่วยดูดซับไปได้อย่างรวดเร็วแน่นอน แต่หากบ้านอยู่ระดับเดียวกันน้ำมาบ้านก็ได้รับผลกระทบทันที ไฟป่ามาก็ยังเกิดความเสียหายได้ง่ายขึ้นด้วย รูปทรงหลังคา สำหรับบ้านบนเขานั้นการสร้างหลังคาต้องแข็งแรงเพื่อรองรับน้ำฝน เพราะป่าไม้ต้องเผชิญกับฝนตกที่มากกว่าและรุนแรงกว่าพื้นที่ในเมือง หลังคาบ้านที่ต้องรองรับฝนตรงๆ จึงควรมีความแข็งแรงสูง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหารั่งซึมและควรมีการสร้างรางระบายที่แข็งแรงและสามารถระบายได้เร็วโดยไม่สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่รอบตัวบ้าน รูปทรงหลังคาส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จึงเป็นรูปทรงแบนหรือทรงเตี้ยเพื่อกระจายแรงและระบายน้ำฝนออกได้อย่างช้าๆ ทำให้รางน้ำฝนไม่ต้องรับปริมาณที่มากเกินไปนั่นเอง ที่พักอาศัยนั้นมีความสำคัญอย่างมากโดยถือเป็นปัจจัยสี่ที่มนุษย์ขาดไม่ได้จึงต้องสร้างให้ทนทานมากที่สุด...

ภูมิศาสตร์เรื่องบ้าน สร้างบ้านชายทะเลต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง

หลายคนคงมีความฝันอยากมีบ้านพักชายทะเลเอาไว้พักร้อนรับลมในวันหยุดกันสักหลังแต่คุณรู้หรือไม่ว่าบ้านที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเลนั้นมีการก่อสร้างโดยใช้วัสดุที่ต่างออกไปจากบ้านในเมือง เพราะสภาพอากาศที่แตกต่างรวมถึงสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนกับบ้านในเมืองทำให้บ้านใกล้ทะเลเหล่านี้ต้องมีความแตกต่างกันตั้งแต่เรื่องของวัสดุไปจนถึงลักษณะของการออกแบบเพื่อความปลอดภัยและคงทนในการอาศัยอยู่ วันนี้ดอทจึงมานำเสนอความแตกต่างที่บ้านชายทะเลต้องพิเศษกว่าบ้านในเมืองนั้นมีอะไรกันบ้าง สำหรับใครที่ต้องการสร้างบ้านชายทะเลไม่ควรพลาด วัสดุโครงสร้างต้องทนความชื้นมากกว่าปกติ การสร้างบ้านติดชายทะเลต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่บ้านจะต้องเผชิญเพื่อให้ได้ที่พักอาศัยที่แข็งแรงทนทานสามารถพักอาศัยได้อย่างปลอดภัย เพราะพื้นที่ติดทะเลนั้นจะต้องเผชิญกับความชื้นที่มากกว่าและยังต้องเจอกับความเค็มของน้ำทะเลด้วยซึ่งด้วยลักษณะพิเศษนี้ทำให้วัสดุทั่วไปไม่สามารถนำมาใช้สร้างบ้านได้แข็งแกร่งเท่าที่ควร จึงต้องมีการออกแบบวัสดุพิเศษขึ้น ตัวอย่างเช่น ไม้ การเลือกไม้สร้างบ้านติดทะเลหรืออยู่ในพื้นที่ใกล้ทะเลนั้นต้องเลือกไม้ที่มีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพอากาศและความชื้นมากเป็นพิเศษอย่างไม้เนื้อแข็ง โดยสามารถเสริมความทนทานด้วยกันเคลือบผิวไม้ด้วยสีหรือวัสดุกันความชื้นเพิ่มอีกชั้นหนึ่ง เหล็ก โครงสร้างบ้านติดทะเลส่วนใหญ่มักใช้เป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อให้ได้บ้านที่แข็งแรงที่สุด ซึ่งในการเลือกใช้เหล็กนั้นต้องเลือกเหล็กที่มีคุณสมบัติกันสนิม หรือก็คือเหล็กที่มีการเคลือบสีรองพื้นกันสนิมที่มีคุณภาพโดยดูจากการพ่นเคลือบสีกันสนิมที่ความหนาของสีละเอียดและพ่นเท่ากันทั้งหมดซึ่งจะช่วยยืดอายุของเหล็กให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น ปูน การใช้ปูนของบ้านติดทะเลนั้นก็ยังต้องใช้ความสำคัญเพราะปูนคือสิ่งที่จะต้องเผชิญกับสภาพอากาศชื้นเค็มหรือน้ำทะเลโดยตรงทำให้จำเป็นต้องทนทานต่อการกัดกร่อนของน้ำทะเลได้ดี โดยปูนสำหรับงานโครงสร้างในพื้นที่ชายฝั่งทะเล พื้นที่น้ำกร่อยนี้จะมีชื่อเรียกว่า มารีน ซีเมนต์(Marine Cement) ลักษณะบ้านต้องยกตัวขึ้นสูง การสร้างบ้านริมทะเลหรือบ้านติดทะเลจะต้องมีการศึกษาระดับน้ำที่สูงที่สุดเพื่อป้องกันเหตุการณ์น้ำขึ้นสูงหรือคลื่นสูงที่อาจจะซัดเข้ามาได้ ดังนั้นแล้วนอกจากวัสดุการก่อสร้างที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งแล้ว ตัวบ้านต้องยกสูงขึ้นด้วยและควรเผื่อพื้นที่ความสูงให้กับคลื่น ป้องกันไม่ให้คลื่นซัดเข้าภายในบ้านจนเกิดความเสียหายได้ นอกจากนี้แล้วยังมีกฎหมายเกี่ยวความสูงของบ้านชายทะเลที่มีการกำหนดเอาไว้ โดยการกำหนดตจะเป็นความสูงของอาคารและพื้นที่ของอาคารซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีการกำหนดไว้ไม่เท่ากัน อย่าลืมศึกษาข้อกฎหมายก่อนการออกแบบ รูปแบบบ้านทนลม ทนแดด พื้นที่ชายทะเลเป็นพื้นที่ที่สวยงามและผ่อนคลายทำให้หลายคนอยากจะไปพักผ่อนอย่างแน่นอนแต่ว่าทะเลก็ยังมีช่วงเวลาที่ไม่สวยงามเท่าใดนักเพราะพื้นที่ชายทะเลนั้นนอกจากจะเผชิญกับไอเค็ม ความชื้นและคลื่นน้ำแล้ว ยังต้องเจอกับพายุลมฝนที่แรงกว่าพื้นที่ในเมืองด้วย โดยเมื่อฝนตกมักจะสาดเข้ามาอย่างแรงทำให้หลังคาบ้านและกันสาดต้องแข็งแรงและมีการกำหนดองศาที่แม่นยำเพื่อป้องกันฝนสาด บ้านชายทะเลที่สวยงามสำหรับใครหลายคนนั้นนับเป็นบ้านที่ต้องมีความพิถีพิถันละเอียดอ่อนในการสร้างอย่างมากทีเดียวเพราะจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศและความชื้น ไอเค็มที่รุนแรงกว่าพื้นที่อื่นๆ...

ยุคที่ไม่มีไฟฟ้าจะสร้างบ้านรับมือกับความร้อนอย่างไร ไปดูกัน

แต่ละพื้นที่บนโลกล้วนมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันออกไป การสร้างที่พักอาศัยของแต่ละพื้นที่จึงต้องมีความแตกต่างกันออกไปด้วยเพื่อให้คนที่อยู่อาศัยสามารถพักได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัที่สุดโดยในบทความนี้ดอทจะเล่าถึงที่พักอาศัยในเขตร้อนซึ่งเป็นรูปแบบของที่พักอาศัยที่เราคุ้นเคยกันดีเพราะประเทศไทยเป็นหนึ่งในเขตร้อนเช่นกัน จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูกัน รูปทรงหลังคา หลังคาของบ้านเขตร้อนนั้นจะเน้นไปที่การกันแดดกันลมและกันฝนได้ด้วย เพราะสภาพอากาศในเขตร้อนนั้นจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่หลากหลาย โครงสร้างหลังคาจึงต้องรับมือได้หลากหลายตามไปด้วยอย่างเช่นรูปแบบหลังคาทรงปั้นหยา ที่เป็นทรงลาดเอียงทั้งสี่ด้าน ตรงกลางสูงขึ้นเพื่อให้ความร้อนลอยขึ้นด้านบนได้ จุดเด่นของหลังคาทรงปั้นหยาคือการมีชายคาที่ยื่นออกมาสามารถกันแดดไม่ให้โดนผนังที่สามารถเก็บความร้อนได้โดยตรงและยังสามารถกันฝนไม่ให้สาดเข้าผนังบ้านหรือเข้าบ้านได้ด้วยเช่นกัน โดยในปัจจุบันมีการเสริมให้หลังทรงปั้นหยาสามารถติดตั้งหน้าต่างรับลมเพื่อระบายความร้อนได้ด้วย สร้างระแนงไม้หรือปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อบังแดด สำหรับบ้านในเขตร้อนนั้นเพียงแค่ไม่ถูกแดดตรงๆ ก็สามารถรักษาความเย็นไว้ในบ้านได้แล้วดังนั้นที่พักอาศัยเขตร้อนจึงนิยมปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้ใกล้กับบ้าน หรือไม่ก็ปลูกต้นไม้ล้อมบ้านเพื่อให้ไอเย็นจากต้นไม้ลดความร้อนของแสงแดดลง อีกวิธีหนึ่งที่บ้านในเขตร้อนนิยมก็คือการสร้างระแนงไม้ขึ้นมาบดบังส่วนหนึ่งของแสงแดดซึ่งเป็นวิธีที่คล้ายกับการสร้างกำแพงสองชั้นเพียงแต่ระแนงจะสามารถรับลมและระบายอากาศได้  จัดวางเหมาะกับทิศของลมและแดด บ้านในเขตร้อนจะไม่นิยมหันหน้าหาไปทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกที่รับแดดโดยตรง แต่จะหันหน้าไปทางทิศเหนือหรือใต้แทนเพื่อลดการรับแสงแดดโดยตรงตลอดทั้งวัน นอกจากนี้การหันหนาบ้านไปทางทิศเหนือและใต้ยังทำให้บ้านได้สลับฝั่งกับรับแสงแดดซึ่งบ้านจะไม่ร้อนจนเกินไปด้วยนั่นเอง สามารถจัดการพื้นที่ภายในบ้านได้ง่ายขึ้น นอกจากเรื่องทิศทางของแสงแดดแล้วยังมีการดูทิศทางลมก่อนสร้างบ้านด้วย เพราะที่พักอาศัยที่ทำจากไม้ในอดีตหรือบ้านที่ทำจากปูนในปัจจุบันล้วนแต่เก็บความร้อนเอาไว้จำเป็นต้องระบายความร้อนออกจากห้องก่อนเข้าพักด้วยจึงต้องสรางบ้านให้สามารถได้รับลมตลอดนั่นเอง ยกใต้ถุนบ้าน เราได้เห้นบ้านทรงไทยส่วนมากมักมีการยกใต้ถุนบ้านขึ้นซึ่งมีอยู่สองสาเหตุหลักด้วยกัน หนึ่งคือป้องกันความเสียหายเมื่อนำ้ท่วมหรือน้ำหนุนสูง สองคือการป้องกันความร้อนจากดิน เพราะหากดินรับแดดโดยตรงจะอมความร้อนเอาไว้และเมื่อถึงเวลากลางคืนก็จะคายความร้อนออกมาทำให้บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นร้อนอบอ้าวอยู่ไม่สบาย สร้างช่องระบายอากาศ โดยปกติแล้วความร้อนมักจะเดินทางไปหาความเย็น ดังนั้นหากเราสร้างช่องทางระบายอากาศเอาไว้เพราะอีกหนึ่งเส้นทางที่ความร้อนชอบคือการลอยขึ้นสูง จึงควรสร้างช่องระบายอากาศไว้สูงอาจะเป็นบนช่องหลังคาหรือบนผนังใกล้กับฝ้าเพดานจะช่วยระบายความร้อนออกไปได้ ในปัจจุบันการสร้างช่องระบายอากาศได้มีการติดพัดลมและตัวช่วยอื่นๆ มากขึ้นแล้วเพราะช่วยระบายความร้อนในตัวบ้านได้เร็วขึ้น หากปัจจุบันที่พักอาสัยของคุณโดนแดดมาตลอดวันก้สามารถใช้วิธีระบายอากาศก่อนแล้วค่อยเปิดเครื่องปรับอากาศแบบนี้จะช่วยประหยัดพลังงานได้มากขึ้น ลักษณะของบ้านในเขตร้อนนี้มีหลายลักษณะที่เรายังคงเห็นได้ในบ้านของเราเอง แต่ก็มีอีกหลายอย่างที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยเพราะสภาพอากาศที่มีมลพิษมากขึ้นด้วย บ้านในเขตร้อนมักสร้างด้วยผนังที่บางเพื่อการระบายความร้อนเมื่อถึงเวลาที่เป็นฤดูหนาวทำให้บ้านไม่กันความหนาวจากภายนอกเท่าใดนัก...

ภูมิศาสตร์เรื่องบ้าน สร้างบ้านริมแม่น้ำต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง

การพักผ่อนริมแม่น้ำนั้นนอกจากจะได้วิวผ่อนคลายแสนสวยและบรรยากาศดีๆ แล้วยังมีอากาศที่เย็นสบายให้เราพักผ่อนอย่งเต็มที่อีกด้วย ช่างเป็นที่พักอาศัยที่น่าสนใจมากเหลือเกิน เพียงแต่การสร้างที่พักอาศัยริมน้ำนั้นมีเรื่องที่ต้องคำนึงถึงอยู่มากทีเดียวเพื่อให้ที่พักอาศัยนั้นปลอดภัย คงทนและแข็งแรงต่อการพักอาศัยอย่างแท้จริง วันนี้ดอทจะพาทุกคนมาดูความแตกต่างของการสร้างบ้านริมน้ำ ว่าจะมีความแตกต่างหลักๆ เป็นอะไรบ้างที่เราควรรู้ก่อนจะสร้างบ้านริมน้ำขึ้นมา ไปดูกัน โครงสร้างบ้านทนต่อความชื้น บ้านริมน้ำโดยส่วนมากแล้วมักมีโครงสร้างส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำและโครงสร้างส่วนใหญ่ที่ต้องสัมผัสกับความชื้นตลอดวัน โดยส่วนใหญ่จึงใช้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กโดยต้องระวังเรื่องของเหล็กที่ใช้ต้องมีการเคลือบกันสนิมที่ได้คุณภาพ ส่วนเรื่องของปูนนั้นหากพื้นที่ที่สร้างไม่ได้เป็นน้ำกร่อยที่มีน้ำทะเลผสม เราสามารถใช้ปูนธรรมดาได้เลย แต่หากเป็นพื้นที่น้ำกร่อยจะต้องใช้ปูนเฉพาะที่เรียกว่า มารีน ซีเมนต์ ซึ่งทนต่อการกัดกร่อนของน้ำทะเลได้มากกว่า ยกใต้ถุนขึ้นสูงกว่าระดับน้ำ ใครที่ต้องการสร้างบ้านริมน้ำคงไม่อยากให้บ้านที่เพิ่มสร้างต้องเผชิญกับน้ำท่วมบ้านเพราะน้ำขึ้นสูงอย่างแน่นอน โดยการสร้างบ้านที่ริมแม่น้ำอย่างนี้จะมีการใช้สูตรเพื่อคำนวณความสูงของบ้านว่าควรยกใต้ถุนขึ้นสูงเท่าใดตัวบ้านจึงจะปลอดภัย วิธีการคำนวณก็คือ ความลึกของระดับน้ำบวกกับความลึกของระดับน้ำเดิมคูณ 1.25 จะได้เป็นความยาวเสาเข็มที่จะทำแนวรั้วและค่าที่ได้ต้องไม่เกิน 10 เมตร ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นว่าบ้านริมน้ำส่วนใหญ่จะอยู่เหนือระดับน้ำขึ้นมาเล็กน้อยนั้นก็เพื่อรองรับช่วงเวลาที่เกิดลมพายุทำให้น้ำขึ้นสูงหรือมีคลื่นเกิดขึ้นด้วยนั่นเอง รูปแบบเสาเข็ม รูปแบบเสาเข็มของบ้านริมน้ำจะมีความพิเศษอยู่บ้างเพราะจะใช้เสาเข็มรูปตัวไอกันเสียส่วนใหญ่ ด้วยสาเหตุหลักคือเรื่องของการใช้งาน  การใช้งานเสาเข็มรูปตัวไอนั้นไม่จำเป็นต้องขุดหรือเจาะดินออกก่อนก็สามารถตกเสาเข็มลงไปได้เลยเพียงกดด้วยแรงของเครื่องจักรเท่านั้น และยังมีร่องตรงกลางสามารถใส่แผ่นพื้นสำเร็จรูปได้...

ยุคที่ไม่มีไฟฟ้าจะสร้างบ้านรับมือกับความหนาวอย่างไร ไปดูกัน

ความเปลี่ยนแปลงของอากาศมีมาตั้งแต่กำเนิดโลก ผู้คนในแต่ละที่ต่างก็ต้องพบเจอกับสภาพอากาศที่ต่างกันไปตามพื้นที่ซึ่งบางครั้งก็ไม่ใช่สภาพอากาศที่อ่อนโยนกับมนุษย์สักเท่าใดนัก ในอดีตจึงมีการคิดสร้างที่พักอาศัยที่สามารถป้องกันสภาพอากาศเหล่านั้นเพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย  วันนี้ดอทจึงจะพาทุกคนไปดูโครงสร้างที่คนสมัยก่อนออกแบบขึ้นเพื่อป้องกันความหนาวเข้าบ้าน จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน รูปทรงของหลังคา ด้วยการเคลื่อนตัวของความร้อนที่มักจะลอยขึ้นสู่ที่สูง จึงมักจะไม่สร้างบ้านที่เพดานสูงมากนักแต่รูปทรงของหลังคาต้องสูงลาดเพื่อให้หิมะลื่นตกลงมาได้ง่าย เพราะในช่วงที่หิมะตกลงมาทับถมหลังคาบ้านจนเป็นชั้นหนาจะต้องมีการกวาดหิมะออกซึ่งหากหลังคาลาดชันไม่มากพอจะทำให้ระบายหิมะออกได้ยาก และหากโครงสร้างบ้านไม่แข็งแรงพอจะรับน้ำหนักของหิมะได้ก้อาจจะถล่มลงมาได้ ด้วย 2 ปัจจัยนี้เราจึงได้เห็นบ้านทางฝั่งตะวันตกหลายหลังมีการสร้างห้องใต้หลังคาเอาไว้ เพื่อป้องกันอากาศภายนอกทะลุเข้ามาสู่ภายในบ้านนั่นเอง ดังนั้นเราจึงได้เห็นว่าบ้านในพื้นที่หนาวเย็นมักไม่สร้างแบบเพดานสูงมากนักแต่รูปทรงหลังคาจะเป็นทรงสูงขึ้นไป ผนังที่หนาขึ้นหรือสร้างผนัง 2 ชั้น ผนังบ้านมีหน้าที่หลักคือการป้องกันอันตรายจากภายนอกเข้ามาสู่ภายใน แต่สิ่งหนึ่งที่ผนังป้องกันได้ไม่ทั้งหมดคืออากาศที่สามารถทะลุผ่านเข้ามาด้านในได้ หากคุณลองเอาตัวไปแตะผนังในช่วงที่แดดส่องจะรู้สึกได้ถึงผนังที่ร้อน เช่นกันกับฤดูหนาวที่ผนังจะเย็นขึ้น หากใครเลือกนอนใกล้ผนังก้จะได้สัมผัสอากาศด้านนอกก่อนใครแน่นอน ดังนั้นในพื้นที่ที่อากาศหนาวเย็นจึงมีการสร้างผนังที่หนามากขึ้นหรือไม่ก็สร้างเป็นผนังสองชั้นเพื่อกั้นอากาศด้านนอกอันหนาวเย็นไม่ให้เข้ามาด้านในได้มากนัก เพราะความหนาวของบางพื้นที่เกินกว่าผนังปกติจะรับมือได้นั่นเอง  ยกพื้นขึ้นจากดิน ลักษณะหนึ่งของดินคือการดูดซับเอาความร้อนเย็นจากพื้นเอาไว้ทำให้พื้นบ้านที่ติดกับดินจะได้รับความเย็นจากพื้นได้โดยตรง บ้านในพื้นที่หนาวจึงมักมีการสร้างห้องใต้ดินเพื่อยกส่วนพักอาศัยหลักให้ขึ้นจากพื้น ซึ่งจะช่วยรักษาอุณหภูมิของบ้านให้คงที่ได้ง่ายขึ้นทั้งยังป้องกันความเย็นจากพื้นได้ไม่ต่างจากการสร้างผนัง 2 ชั้นนั่นเอง ข้อดีอีกหนึ่งอย่างของการยกพื้นคือการได้พื้นที่ว่างในการเก็บของซึ่งทำให้สามารถแต่งและจัดการบ้านได้ง่ายขึ้นด้วย โดยเฉพาะเมื่อมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันมากทำให้ของใช้ต้องมีมากตามไปด้วยเพื่อปรับเปลี่ยนใช้งานตามความเหมาะสม เปิดรับแสงแดดเต็มที่ บ้านในพื้นที่หนาวส่วนใหญ่มักมีการสร้างช่องรับแสงเอาไว้หรือสร้างหลังคาให้มีชายคาสั้นเพื่อเปิดบ้านให้รับแสงแดดอย่างเต็มที่โดยเฉพาะในฤดูหนาวเพื่อให้บ้านอบอุ่นมากขึ้น...

แลนดี้ โฮม เจาะตลาดสร้างบ้านไฮเอนด์ 15 ล้านอัพ ปักหมุดย่านฝั่งธนฯ เปิด Sale Gallery Landy Grand Flagship Store ตอกย้ำศูนย์รับสร้างบ้าน...

ตลาดรับสร้างบ้านหรูยังเนื้อหอม แลนดี้ โฮม เปิดเกมรุกเจาะกลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ ปักหมุดย่านฝั่งธนฯ ทุ่มงบ 20 ล้าน เปิดสาขาใหม่ พร้อมอวดโฉม Sale Gallery Landy Grand Flagship Store (เซลล์ แกลอรี่ แลนดี้ แกรนด์ แฟล็กชิพ สโตร์) ที่แรกในประเทศไทย รับสร้างบ้านหรูราคา...
บริษัทสร้างบ้าน

ส่อง บริษัทสร้างบ้าน ปี 2563 ได้รับผลกระทบหรือไม่?

สำหรับภาพรวมของ บริษัทสร้างบ้าน ในประเทศไทยปี 2563 ยังคงสามารถคาดหวังได้บ้าง โดยหากพิจารณาจากภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทยที่ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้คาดการณ์ไว้ว่าระหว่างปี 2561 – 2563 ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 7-9 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากการขยายการลงทุนทั้งของภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศ และการขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ย้อนดูธุรกิจ บริษัทสร้างบ้าน ที่ผ่านมา หากมองในเชิงภาพรวมของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จากศูนย์วิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา พบว่าในช่วงปี 2552 – 2561 ที่ผ่านมา...
ถมดินสร้างบ้าน

ถมดินสร้างบ้าน พร้อมขั้นตอนและเอกสารในการขออนุญาตถมดิน

ถมดินสร้างบ้าน สำคัญยังไง สำหรับคนที่อยากมี บ้าน การจะ ปลูกบ้าน ซักหลังเมื่อได้ที่ดินมาแล้ว ขั้นตอนลำดับแรกเลยคือการ ถมดิน เพื่อปรับหน้าดินให้สม่ำเสมอและเหมาะสม หรือ ปรับสภาพหน้าดิน ที่ดินเดิมนั้นอ่อนตัวเกินไป เพื่อง่ายต่อการก่อสร้างและความมั่นคงของตัวบ้าน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะกระทำการอันใด เราก็ต้องอยู่ในกฎระเบียบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตามพระราชบัญญัติที่ได้กำหนดไว้   ถมดิน เท่าไหร่ถึงจะต้องทำเรื่องแจ้งตามกฎหมาย การถมดินที่ต้องที่ต้องแจ้งเรื่องให้กับ เจ้าหน้าที่พนักงานส่วนท้องถิ้นทราบก็คือ มีการทำการถมดินสูงเกินกว่าที่ดินข้างเคียง โดยจะวัดจากด้านที่มีพื้นที่ต่ำสุดเป็นมาตรฐาน พื้นที่ที่มีมากกว่า 2,000 (1 ไร่...
กู้สร้างบ้าน

แชร์ไอเดียคนเงินเดือน 13,000 บาท กู้สร้างบ้านรวมตกแต่งทั้งหมด ด้วยงบ780,000 บาท

แชร์ไอเดียทำได้จริงแบบไม่มโน กับแนวทางที่คนเงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาททำยังไงให้สามารถ ทำเรื่องขอ กู้สร้างบ้าน จากธนาคารผ่าน โดยไอเดียในครั้งนี้เป็นของคุณ สมาชิกหมายเลข 4884036 สมาชิกจากเว็บไซต์ pantip.com ที่ได้นำเสนอแนวทางให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบสำหรับเป็นแนวทางให้คนที่กำลังจะก้บ้านสามารถเป็นทางเลือกได้ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลย   รีวิวกู้บ้าน ธอส. ชั้นเดียว งบสร้างบ้าน780,000 รวมตกแต่งและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านทั้งหมด BY สมาชิกหมายเลข 4884036 (บ้านหลังเดิมกำหนดงบที่ 680,00 ) จขกท. อยู่บ้านเช่ากับแฟนที่ภูเก็ต...
ที่ดินหลวง

สร้างบ้านบนที่ดินหลวงเกิน 30 ปี จะครองที่ดินถาวรได้ไหม?

ต้องบอกก่อนนะค่ะว่าการรุกล้ำเขต ที่ดินหลวง จะตั้งแต่ 1 เดือน หรือ 1 วัน ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ที่นี้ก็มีหลายๆท่านที่ไม่ทราบหรือรู้แต่จะให้ทำไงก็รุ่นปู่รุ่นย่าสร้างบ้านอาคารรุกร้ำที่ดินหลวงมานานเกิน 30-40 ปี และอาจจะเพิ่งมาทราบตอนที่เราอาจจะขายที่ดิน หรือทางภาครัฐกำลังจะนำที่ดินนั้นไปใช้ประโยชน์ของประเทศ ทำให้จำเป็นต้องรื้อถอนโดยด่วน  ทีนี้หากอยู่อาศัยมานานเราจะสามารถฟ้องกรมทางหลวงเพื่อครอบครองปรปักษ์ เขตที่ดินที่เราปลูกบ้านหรือกรณีที่บริเวณบ้านบางส่วนที่ล้ำออกไปได้ไหม เดี๋ยวเราไปหาคำตอบกัน สร้างบ้านบน ที่ดินหลวง เกิน 30 ปี จะครองที่ดินถาวรได้ไหม? ที่ดินทางหลวงต่อให้เราอยู่อาศัยเป็นร้อยปีก็ไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ได้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า...