Search

เงินกู้ - search results

If you're not happy with the results, please do another search

วิธีคุมใจให้นิ่งในความสวิงตลาดอสังหาฯ!

ดูเหมือนว่าช่วงนี้ ตลาดอสังหาฯ ของไทยกำลังอยู่ในอารมณ์ม้าดีด ร้อนแรงทุกองศา โครงการใหม่ไม่ว่าจะแนวราบแนวดิ่งต่างประกาศเทหน้าตักขายกันอย่างครึกโครม หั่นราคา ประกาศครั้งสุดท้าย ลด แลก แจก แถม กันถ้วนทั่ว ไหนจะสถาบันการเงินอย่าง ธอส. ที่เพิ่มวงเงินกู้ ลดเงื่อนไขสินเชื่อ ปลดภาระค่าจดจำนอง เชิญชวนเชียร์กันอื้ออึง แค่มีเงินเดือนหมื่นต้นๆ ก็สามารถแลกเงินดาวน์มาสานฝันที่อยู่อาศัยกันได้ง่ายๆ จังหวะดีแบบนี้ ไม่ว่าจะมองในแง่ซื้อเพื่อการอยู่อาศัย หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ถ้าพลาดคงต้องรู้สึกเสียดาย...

Peer-to-Peer Lending: กู้เพียวๆ ม้วนเดียวจบ! (ตอนที่ 2)

จากตอนที่แล้วที่เราได้เกริ่นนำเกี่ยวกับระบบสินเชื่อและการกู้ยืมแบบ Peer-to-Peer Lending อันเป็นนวัตกรรมใหม่ทางด้านสินเชื่อและธุรกรรมทางการเงิน ภายใต้ความก้าวหน้าของการสื่อสารและโลกแห่ง Social Media โดยไม่จำเป็นต้องผ่านคนกลางอย่างธนาคารพาณิชย์ ที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางในต่างประเทศกันไปแล้ว อย่างไรก็ตาม จะมากหรือน้อย มันยังคงมีสิ่งที่น่ากังขาสำหรับระบบสินเชื่อแบบ ‘ทำมือ’ ที่เป็นปัจจัยไม่ให้ระบบดังกล่าวได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างที่ควรจะเป็น แม้ว่ามันจะมีข้อดีที่น่าสนใจอยู่มากสักเพียงใดก็ตาม //ความไม่ยืดหยุ่นของ Peer-to-Peer Lending แม้ว่าระบบ Peer-to-Peer Lending ของต่างประเทศ จะอ้างอิงจากมาตรฐานการตรวจสอบเครดิตของผู้ขอกู้ยืมเงินผ่านมาตรวัดต่างๆ อาทิ FICO...

ผู้ประกอบการวอนภาครัฐชะลอเก็บภาษีที่อยู่อาศัย หวั่นกระทบภาคอสังหาริมทรัพย์

ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์วอนภาครัฐชะลอมาตรการเก็บภาษีที่อยู่อาศัยอัตราใหม่ หวั่นกระทบกำลังซื้อ พร้อมย้ำต้องมีมาตรการที่ชัดเจนเพื่อรองรับการขยายตัว นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย และกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจคอนโดมิเนียม บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS กล่าวถึงมาตรการการเก็บภาษีที่อยู่อาศัยอัตราใหม่ ที่จะขึ้นเป็นร้อยละ 0.03 หรือ 600 บาทต่อปีว่า จะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างมาก จึงอยากให้ชะลอออกไปอีกประมาณ 2-3 ปี เพื่อให้มาตรการดังกล่าวมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น...

Debt Service Coverage Ratio (DSCR): ‘กู้ได้’…แล้ว ‘จ่ายไหว’ หรือเปล่า?

การมีบ้านและที่อยู่อาศัยนั้น น่าจะเรียกได้ว่าเป็นความฝันลำดับต้นๆ ของแต่ละคน ยิ่งในปัจจุบันที่ธนาคารพาณิชย์ต่างมีเงื่อนไขโดนใจ โปรโมชั่นเด็ดๆ รวมถึงทางฝั่งเจ้าของโครงการทั้งหลายก็ดูจะใจป้ำ งดเว้นเงินทำสัญญา ลดราคาค่าจอง และอื่นๆ อีกมากจนดูเหมือนว่าอะไรๆ ก็ดูง่ายไปหมด ทำงานสักสองสามปี ค่อยๆ ผ่อนไป เท่านี้เองไม่ใช่อะไรยากเย็น แค่มีสลิปเงินเดือน มีรถ มีสินทรัพย์ ‘กู้ผ่าน’ สบายหายห่วง Credits: mossenbergrealestate.com แต่ในทางหนึ่ง ธนาคารทั้งหลายก็ไม่ใช่องค์กรการกุศล และผลกำไรจากดอกเบี้ยเงินกู้ก็คือเป้าหมายใหญ่เพื่อขับเคลื่อนให้เดินหน้าต่อไป ดังนั้นแล้ว...

ข้อพึงระวัง จำให้ขึ้นใจ สำหรับหน้าใหม่การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ (ตอนที่ 2)

ในบทตอนที่แล้ว เราได้พูดถึงการเตรียมความพร้อมและประเมินขีดความสามารถในการลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้เริ่มต้น แน่นอนว่าเป็นคำตอบที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการคิดตริตรอง แต่ในทางหนึ่ง แม้ว่าเราจะแน่ใจในส่วนของเงินทุน เป้าหมาย และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น การพิจารณาองค์ประกอบเพิ่มเติมอีกขั้นหนึ่งก็จะช่วยให้การเตรียมพร้อมนั้น มีความรัดกุมและสร้างผลต่างทางกำไรได้อย่างคาดไม่ถึง -มองไกลให้ถึงผลตอบแทน (Credits: sparkminute.com) แม้ว่าการตัดสินใจลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์หนึ่งๆ จะมีความมุ่งหมายทางด้านผลตอบแทนที่เป็นเป้าหลัก แต่ทั้งนี้ การมองในระยะยาว พิจารณาผลตอบแทนเปรียบเทียบกันในแต่ละประเภทนั้น จะช่วยให้คุณเห็นภาพชัดเจนว่า การลงทุนนั้นๆ เมื่อมองจากในระยะยาวแล้ว คุ้มค่าจริงหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับความไม่แน่นอนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม จนถึงการเมืองในปัจจุบันที่พร้อมจะเปลี่ยนการลงทุนในฝันให้กลายเป็นเผือกร้อนได้ในพริบตา -คัดสรรตัวช่วย (Credits: moneysavingexpert.com) เงินทุนอาจจะเป็นประเด็นสำคัญที่จะชี้วัดว่าคุณมีขีดความสามารถในการลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์ได้ในระดับใด แต่ไม่ใช่ทั้งหมด...

เช่าอยู่ หรือซื้อขาด: คำถามตอบยากสำหรับผู้อยู่อาศัย? (ตอนที่ 2)

ในบทความตอนที่แล้ว เราแจกแจงถึงข้อดีข้อเสียของการเช่าอยู่อสังหาริมทรัพย์กันไปบ้างแล้ว และในบทความตอนที่ 2 นี้ เราจะมากล่าวถึงมุมมองอีกด้าน ของการซื้อขาดอสังหาริมทรัพย์ถาวรกันในรายละเอียดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น //ซื้อขาด (Owning) มีข้อดีคือ… -กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ซื้อ: รายได้และเงินดาวน์ที่ลงให้กับอสังหาริมทรัพย์หนึ่งๆ ถือได้ว่าเป็นกรรมสิทธิ์ขาดของผู้ซื้อ รวมถึงเป็นการลงทุนระยะยาวที่เหมาะสม เพราะมูลค่าของสินทรัพย์เหล่านี้ จะเพิ่มสูงขึ้นตามระยะเวลาจนสามารถคืนทุนให้กับเงินกู้หรือสินเชื่อในเบื้องต้น แม้ว่าการลงทุนในช่วงแรกนั้นจะ ‘แพง’ ไปสักนิดก็ตามwww.robcampbellrealty.com www.trendhunter.com-ลดหย่อนภาษี: ตามกฏหมายภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ผู้ซื้อขาดอสังหาริมทรัพย์ (ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว หรือคอนโดมิเนียม) สามารถลดหย่อนภาษาได้ 10% จากมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์...

กู้ร่วมได้มั้ย…ถ้าแฟนเราเป็นเพศเดียวกัน

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า ปัจจุบัน ความอิสระนี่ไร้พรมแดนและเพศสภาพจริงๆ เพราะฉะนั้น เราก็เลยเห็นคนเพศเดียวกันคบกันมากมายก่ายกองมากยิ่งขึ้น ซึ่งบทความนี้เราไม่ได้จะมาพูดเรื่องของความรัก ระหว่างเพศเดียวกัน แต่เราจะมาพูดถึง ความสัมพันธ์ของเพศเดียวกันที่อยากจะกู้ร่วมเพื่อซื้ออสังหาฯเป็นของตัวเอง เราเคยได้ยินว่า การกู้ร่วมนั้น ผู้กู้ร่วมจะต้องมีความสัมพันธ์แบบสายเลือกเดียวกัน หรือ หากไม่ใช่สายเลือดก็ต้องมีการสมรสกัน ส่วนเรื่องจดทะเบียนสมรสนั้น จะทำหรือไม่ทำก็ได้ ฟังแบบนี้แล้ว คู่รักเพศเดียวกัน จะสามารถกู้บ้านได้มั้ยนะ...? อย่าเพิ่ง ถอดใจไปค่ะ เรามีทางออกให้คุณ !!! ข้อมูลจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และ ธนาคารยูโอบี ทำให้คู่รักเพศเดียวกันใจชื้นขึ้นมาได้บ้าง...

เก็บเท่าไหร่ กู้แค่ไหน เพื่อบ้านหลังใหม่ในฝัน

คำว่า ‘บ้าน’ อาจจะมีหลากหลายนิยาม แต่ไม่ว่าจะถูกเข้าใจด้วยแนวคิดแบบใด หนทางในการได้มาซึ่งบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์สำหรับการอยู่อาศัยนั้น ก็มักจะต้องผ่านกระบวนการทางการเงิน ที่ยากจะหาใครที่สามารถซื้อขาดได้ด้วยเงินสดในจังหวะเดียว และลงเอยด้วยการกู้กับทางธนาคารต่างๆ เพื่อชดเชยส่วนต่างที่จำเป็น ซึ่งนั่นเอง แต่จะต้องกู้เป็นสัดส่วนเท่าใด หรือจะต้องเก็บสำรองเงินสดไว้มากน้อยแค่ไหน เหล่านี้ยังคงเป็นข้อกังขาสำหรับผู้ที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจอยู่ไม่น้อย ในแง่นี้ เราอาจจะต้องทำความเข้าใจกับรูปแบบการปล่อยกู้เพื่ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศกันโดยคร่าวๆ ที่รูปแบบโดยปกติ จะแตะเพดานวงเงินกู้สูงสุดที่ 80% ตามกำหนดของ LTV (Loan to Collateral Value) เช่น...

วางแผนซื้อบ้าน ไร้ปัญหา ซื้อง่าย ผ่อนสบาย อยู่ได้ชิวๆ

ในสังคมปัญจุบันนี้การที่เราจะมีบ้านสักหลังนั้นไม่ใช่เรื่อง่ายเลย เพราะการซื้อบ้านสักหลังมักจะเป็นปัญหาและภาระที่ใหญ่หลวงมาก โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้มีเงินก้อนใหญ่หรือไม่มีเงินเก็บ และจำเป็นที่จะต้องเก็บเงินเป็นเวลายาวนานนับปี หรือต้องกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อใช้ในการซื้อบ้านสักหลัง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็ต้องรับภาระผ่อนยาวนานถึง 20-30 ปี ยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายที่จะตามมาอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นค่าตกแต่งใหนจะค่าประกันที่ผูกมากับสัญญาการกู้เงินเพื่อที่อยู่อาศัย ดังนั้นการที่เราจะมีบ้านสักหลังจะต้องคิดให้รอบครอบและคำนึงถึงความพร้อมและจะต้องมีการวางแผนให้ดีก่อนที่จะซื้อบ้านสักหลัง ก่อนที่เราจะซื้อบ้านสิ่งที่เราต้องมาดูถึงความพร้อมนั้น วันนี้เรามีประเด็นสำคัญๆ ที่จะเป็นแนวทางวางแผนก่อนเพื่อที่เราจะได้มีบ้านแบบไร้ปัญหา ซื้อง่าย ผ่อนสบาย แบบชิวๆ ใช้เงินดาวน์มาก ผ่อนให้น้อย คนยุคสมัยนี้ส่วนใหญ่มักจะต้องอาศัยการกู้เงินเพื่อซื้อบ้านได้เร็วขึ้น แต่ก็ต้องรับภาระดอกเบี้ยยาวนาน เป็นเวลา 20-30 ปี และเดี๋ยวนี้ยังมีการให้สินเชื่อเกือบเต็มวงเงิน จึงทำให้ใช้เงินดาวน์น้อย หรือแทบจะไม่ต้องใช้เงินดาวน์เลย...

ปัจจัยบวก- ลบ อสังหาฯหลังจากนี้ !!

ช่วงนี้ได้ยินแต่ข่าวลบ ของแวดวงอสังหาฯที่ดูเหมือนไม่ค่อยจะสู้สักเท่าไหร่ ดูเหมือนว่าข่าวที่ประโคมออกมานั้นจะตอกย้ำว่า ยังไงๆ ตลาดอสังหาฯนับจากนี้ คงดีขึ้นได้ยาก มีแต่การคาดการณ์ แต่ไม่มีใครรู้หรอกว่าข่าวเป็นจริงนับจากนี้เป็นอย่างไร ดังนั้นคนอสังหาฯก็ไม่ต้องตื่นตูมไปกับกระแสดังกล่าวให้เป็นทุกข์มากนัก เพราะทุกอย่างบนโลกนี้มีเหตุผล มีทางออก และที่สำคัญหากเราศึกษาอย่างถี่ถ้วนแล้ว คงจะไม่ขาดทุนย่อยยับอย่างแน่นอน วันนี้เราก็เลยนำการคาดการณ์ ปัจจัยบวก และปัจจัยลบ ของแวดวงสังหาริมทรัพย์มาให้ทุกท่านได้รับทราบกันเป็นความรู้เบาๆ เอาไว้คาดการณ์ ไว้คิดวางแผนทิศทางอสังหาฯของตัวเองกันบ้าง มาเริ่มกันเลยนะคะ ปัจจัยบวก 1. การเมือง อยู่ในเกณฑ์สงบ มั่นคงมากยิ่งขึ้น ถึงแม้จะมีการขัดแย้งขึ้นเป็นระยะๆบ้างก็ตาม แต่โดยรวมแล้วถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น 2....

Subscribe to receive the latest property news