Search

ไทย - search results

If you're not happy with the results, please do another search

ยุคที่ไม่มีไฟฟ้าจะสร้างบ้านรับมือกับความร้อนอย่างไร ไปดูกัน

แต่ละพื้นที่บนโลกล้วนมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันออกไป การสร้างที่พักอาศัยของแต่ละพื้นที่จึงต้องมีความแตกต่างกันออกไปด้วยเพื่อให้คนที่อยู่อาศัยสามารถพักได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัที่สุดโดยในบทความนี้ดอทจะเล่าถึงที่พักอาศัยในเขตร้อนซึ่งเป็นรูปแบบของที่พักอาศัยที่เราคุ้นเคยกันดีเพราะประเทศไทยเป็นหนึ่งในเขตร้อนเช่นกัน จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูกัน รูปทรงหลังคา หลังคาของบ้านเขตร้อนนั้นจะเน้นไปที่การกันแดดกันลมและกันฝนได้ด้วย เพราะสภาพอากาศในเขตร้อนนั้นจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่หลากหลาย โครงสร้างหลังคาจึงต้องรับมือได้หลากหลายตามไปด้วยอย่างเช่นรูปแบบหลังคาทรงปั้นหยา ที่เป็นทรงลาดเอียงทั้งสี่ด้าน ตรงกลางสูงขึ้นเพื่อให้ความร้อนลอยขึ้นด้านบนได้ จุดเด่นของหลังคาทรงปั้นหยาคือการมีชายคาที่ยื่นออกมาสามารถกันแดดไม่ให้โดนผนังที่สามารถเก็บความร้อนได้โดยตรงและยังสามารถกันฝนไม่ให้สาดเข้าผนังบ้านหรือเข้าบ้านได้ด้วยเช่นกัน โดยในปัจจุบันมีการเสริมให้หลังทรงปั้นหยาสามารถติดตั้งหน้าต่างรับลมเพื่อระบายความร้อนได้ด้วย สร้างระแนงไม้หรือปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อบังแดด สำหรับบ้านในเขตร้อนนั้นเพียงแค่ไม่ถูกแดดตรงๆ ก็สามารถรักษาความเย็นไว้ในบ้านได้แล้วดังนั้นที่พักอาศัยเขตร้อนจึงนิยมปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้ใกล้กับบ้าน หรือไม่ก็ปลูกต้นไม้ล้อมบ้านเพื่อให้ไอเย็นจากต้นไม้ลดความร้อนของแสงแดดลง อีกวิธีหนึ่งที่บ้านในเขตร้อนนิยมก็คือการสร้างระแนงไม้ขึ้นมาบดบังส่วนหนึ่งของแสงแดดซึ่งเป็นวิธีที่คล้ายกับการสร้างกำแพงสองชั้นเพียงแต่ระแนงจะสามารถรับลมและระบายอากาศได้  จัดวางเหมาะกับทิศของลมและแดด บ้านในเขตร้อนจะไม่นิยมหันหน้าหาไปทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกที่รับแดดโดยตรง แต่จะหันหน้าไปทางทิศเหนือหรือใต้แทนเพื่อลดการรับแสงแดดโดยตรงตลอดทั้งวัน นอกจากนี้การหันหนาบ้านไปทางทิศเหนือและใต้ยังทำให้บ้านได้สลับฝั่งกับรับแสงแดดซึ่งบ้านจะไม่ร้อนจนเกินไปด้วยนั่นเอง สามารถจัดการพื้นที่ภายในบ้านได้ง่ายขึ้น นอกจากเรื่องทิศทางของแสงแดดแล้วยังมีการดูทิศทางลมก่อนสร้างบ้านด้วย เพราะที่พักอาศัยที่ทำจากไม้ในอดีตหรือบ้านที่ทำจากปูนในปัจจุบันล้วนแต่เก็บความร้อนเอาไว้จำเป็นต้องระบายความร้อนออกจากห้องก่อนเข้าพักด้วยจึงต้องสรางบ้านให้สามารถได้รับลมตลอดนั่นเอง ยกใต้ถุนบ้าน เราได้เห้นบ้านทรงไทยส่วนมากมักมีการยกใต้ถุนบ้านขึ้นซึ่งมีอยู่สองสาเหตุหลักด้วยกัน หนึ่งคือป้องกันความเสียหายเมื่อนำ้ท่วมหรือน้ำหนุนสูง สองคือการป้องกันความร้อนจากดิน เพราะหากดินรับแดดโดยตรงจะอมความร้อนเอาไว้และเมื่อถึงเวลากลางคืนก็จะคายความร้อนออกมาทำให้บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นร้อนอบอ้าวอยู่ไม่สบาย สร้างช่องระบายอากาศ โดยปกติแล้วความร้อนมักจะเดินทางไปหาความเย็น ดังนั้นหากเราสร้างช่องทางระบายอากาศเอาไว้เพราะอีกหนึ่งเส้นทางที่ความร้อนชอบคือการลอยขึ้นสูง จึงควรสร้างช่องระบายอากาศไว้สูงอาจะเป็นบนช่องหลังคาหรือบนผนังใกล้กับฝ้าเพดานจะช่วยระบายความร้อนออกไปได้ ในปัจจุบันการสร้างช่องระบายอากาศได้มีการติดพัดลมและตัวช่วยอื่นๆ มากขึ้นแล้วเพราะช่วยระบายความร้อนในตัวบ้านได้เร็วขึ้น หากปัจจุบันที่พักอาสัยของคุณโดนแดดมาตลอดวันก้สามารถใช้วิธีระบายอากาศก่อนแล้วค่อยเปิดเครื่องปรับอากาศแบบนี้จะช่วยประหยัดพลังงานได้มากขึ้น ลักษณะของบ้านในเขตร้อนนี้มีหลายลักษณะที่เรายังคงเห็นได้ในบ้านของเราเอง แต่ก็มีอีกหลายอย่างที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยเพราะสภาพอากาศที่มีมลพิษมากขึ้นด้วย บ้านในเขตร้อนมักสร้างด้วยผนังที่บางเพื่อการระบายความร้อนเมื่อถึงเวลาที่เป็นฤดูหนาวทำให้บ้านไม่กันความหนาวจากภายนอกเท่าใดนัก...

มนุษย์สร้างวิกฤตอะไรให้กับทะเลบ้าง มาดูกัน

กิจกรรมของมนุษย์มากมายสร้างผลกระทบมากมายให้กับโลกซึ่งเรียกได้ว่าผลกระทบจากการกระทำทั้งหมดนั้นกำลังย้อนกลับมาถึงตัวเราแล้ว แต่ในครั้งนี้เราจะขยับออกไปสักนิด ที่จะเรียกว่าห่างจากตัวเราไปก็ไม่นับว่ามากนัก แต่เรากลับมองเห็นได้ไม่ค่อยชัดเจน นั่นคือ ทะเล ประเทศไทยมีอาณาเขตติดกับทะเลอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว จึงเป็นประเทศหนึ่งที่มีส่วนในการทำร้ายทะเลอยู่บ้าง วันนี้ดอทจึงพาทุกคนมาดูถึงปัญหาที่ทะเลต้องเผชิญ 5 ประการ โดยที่ทุกประการนี้เป็นปัญหาที่มนุษย์เข้าไปรบกวนทะเลทั้งสิ้น มีอะไรบ้างไปดูกัน น้ำมันรั่วในทะเล จากสถิติกรมควบคุมมลพิษพบว่าเกิดสถานการณ์น้ำมันรั่วไหลลงทะเลทั้งสิ้นกว่า 90 ครั้ง ในพื้นที่ 22 จังหวัดที่มีชายฝั่งติดทะเลจากปี 2516-2547 สถานการณ์น้ำมันรั่วไหลนี้รวมถึงการเกิดอุบัติเหตุทางเรือซึ่งทำให้มีน้ำมันรั่วลงทะเลด้วยเช่นกัน  นอกจากนี้ยังมีสถิติจากกรมขนส่งทางทะเลและพาณิชย์นาวี กระทรวงคมนาคมที่บอกว่าช่วงปี พ.ศ. 2540-2547 เกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลเฉลี่ยปีละประมาณ 12...

ERA ปรับทัพสร้างเครือข่ายตัวแทน 3,000 รายในปี 65

ERA ปรับทัพสร้างเครือข่าย “1 ตำบล 1 ตัวแทน” เพิ่มแพลตฟอร์มใช้ BRAG STRATEGIES ดึง GEN Z ร่วมทีม ตั้งเป้าปี65 ตัวแทน 3,000 ราย      นายวรเดช ศิวเตชานนท์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท อีอาร์เอ โฮลดิ้ง (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวว่า...

ERA Growth Strategy’ 2022

ERA Thailand เครือข่ายการขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยระบบแฟรนไชส์จากสหรัฐอเมริกา รายแรกใน ประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จากการเป็นผู้ริเริ่มและพัฒนาระบบการขายอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบเครือ ข่าย รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรการอบรมผู้บริหารและนักขายอสังหาริมทรัพย์เป็นรายแรกในประเทศไทย เดินหน้าปรับองค์กรและรูปแบบธุรกิจ พลิกบทบาทจากเดิมที่ใช้การขยายงานด้วยระบบแฟรนไชส์ ก้าวเข้าสู่ กลยุทธการเติบโตอย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน (Creative Growth Together Strategy) การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ERA ได้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้น 3 หน่วยงาน 1) Data & Culture Intelligence Agency...

เริ่มต้นเปลี่ยนบ้านให้รักษ์เรารักษ์โลกด้วย 5 วิธีง่ายๆ

ด้วยวิกฤตสภาพอากาศที่เกิดจากภาวะโลกร้อนทำให้เกิดกระแสรักษ์โลกรักษ์สิ่งแวดล้อมขึ้นมาอย่างที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อมนุษย์ทุกคนมากจริงๆ โดยเฉพาะกับปัญหาเรื่องสุขภาพที่แม้เราจะมีอายุเฉลี่ยที่ยาวนานมากขึ้นแต่กลับต้องเจ็บป่วยด้วยโรคเล็กน้อยเกือบตลอดเวลา ทำให้หลายคนเริ่มต้องการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้สามารถดูแลโลกเพื่อช่วยเหลือเราขึ้นมา วันนี้ดอทจึงรวมเอา 5 วิธีเบื้องต้นที่จะช่วยให้เราสามารถเปลี่ยนบ้านให้รักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้นเพื่อเป็นมิตรต่อตัวเราและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงาน การสร้างพลังงานไฟฟ้าของมนุษย์ส่วนใหญ่ยังคงสร้างภาระให้กับโลกเป็นอย่างมาก ดังนั้นแม้เราจะบอกว่าการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้นจะกล่างได้อย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อพลังงานไฟฟ้าได้มาจากพลังงานสะอาดเช่นกัน ซึ่งสัดส่วนของการผลิตพลังงานไฟฟ้าในบ้านเรามีไม่ถึง 50% ของทั้งหมด ดังนั้นหากต้องการรักษ์โลก ดูแลสิ่งแวดล้อมในเวลานี้จึงควรเป็นการประหยัดไฟฟ้าภายในบ้านโดยไม่ควรเปิดไฟหรือน้ำทิ้งไว้ หรืออาจเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีแผงโซลาร์เซลล์สามารถชาร์จไฟเก้บได้ก้เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจมากเช่นกัน ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดไม่ว่าจะเป็นร่างกาย สิ่งของหรือบ้านของเราต่างก้มีการใช้สารเคมีเพื่อทุ่นแรงหรือเพิ่มจุดสนใจให้คนเลือกใช้ซึ่งสานสังเคราะหืที่เติมเข้ไปเหล่านี้หลายชนิดเป็นพิษต่อธรรมชาติได้ ทำให้สิ่งแวดล้อมเกิดเป็นมลพิษขึ้นได้ เช่น หากปะปนกับน้ำ จะต้องมีการบำบัดน้ำซึ่งจะต้องใช้ต้นทุนมหาศาลตามมา ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางเลือกเกิดขึ้นมากมายที่ใช้แล้วสามารถกลับคืนสู่ธรรมชาติได้ทันทีโดยไม่ต้องกังวลเรื่องสารเคมีหรือมลพิษอื่นๆ ทั้งยังหาซื้อได้ง่ายมากขึ้นแล้วด้วย  ลดการใช้พลาสติกภายในบ้าน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพลาสติกนับเป็นผลผลิตที่สารพัดประโยชน์ แข็งแรงทนทาน กันน้ำได้และราคาถูก ดังนั้นมันจึงเป็นที่นิยมอย่างมากทีเดียว แต่ว่าความแข็งแรงนี้กลับกลายเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากเพราะตลอดขั้นตอนตั้งแต่การเกิดไปจนถึงการตายของมันล้วนแล้วแต่สร้างมลพิษออกมา จึงเริ่มมีการรณรงค์ให้ลดการใช้พลาสติกเพื่อลดภาระให้กับโลก สำหรับที่บ้านแล้วเราสามารถเปลี่ยนการใช้บรรจุภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสังเคราะหืซึ่งอาจมีส่วนประกอบของพลาสติกเช่น ผ้านาโน ผ้าไนลอน...

ซื้อ-ขาย-เช่า คอนโด กับ The Bangkok Residence

หากคุณกำลังสนใจซื้อ-ขาย-เช่าคอนโด แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง การเลือกใช้บริการเอเจ้นท์หรือ ตัวแทนนายหน้าอสังหาฯ ก็เป็นอีกตัวเลือกที่จะช่วยลดขั้นตอนความยุ่งยากนี้ไปได้ ซึ่งในตลาดตอนนี้มีเอเจ้นท์มากมายหลายเจ้าให้เลือก แต่การเลือกใช้เอเจ้นท์ที่มีประสบการณ์สูงและมีความเป็นมืออาชีพอย่าง The Bangkok Residence นั้นเป็นทางเลือกที่ดี ที่จะทำให้คุณสามารถมั่นใจได้ว่า คุณจะไม่ถูกทิ้งลอยลำหลังทำการซื้อ-ขาย-เช่า ผ่านเอเจ้นท์อย่างแน่นอน ซื้อ-ขาย-เช่า คอนโด กับ The Bangkok Residence 1.มั่นใจ ในบริการซื้อ ขาย เช่า อสังหาริมทรัพย์โดยผู้เชี่ยวชาญ The Bangkok...

คอนโดฯ “ชะอำ-หัวหิน-เขาเต่า” ฮอต เพราะคนเลี่ยงโควิดออกจากเมือง!

คอนโดฯ "ชะอำ-หัวหิน-เขาเต่า" ฮอต เพราะคนเลี่ยงโควิดออกจากเมือง! "ไนท์แฟรงค์ฯ" ประเมินสถานการณ์ตลาดคอนโดฯ ในแถบ ชะอำ-หัวหิน-เขาเต่า ในช่วงครึ่งปีหลัง 2564 ที่ผ่านมาว่า “คนไทยเลี่ยงโควิดระบาดในกรุงเทพฯ มองหาซื้อคอนโดฯ "ชะอำ-หัวหิน-เขาเต่า" เติบโตมากขึ้นในอนาคต เพราะชะอำ-หัวหิน-เขาเต่า มักจะเป็นย่านที่ถูกเลือกเป็นบ้านหลังที่สอง เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ตากอากาศยอดนิยม และไม่ห่างจากเมืองหลวงอย่าง กทม. มากนัก ผู้ประกอบการหลายรายจึงเลือกพื้นที่นี้ในการพัฒนาโครงการกันจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว” อุปทานสะสมของคอนโดมิเนียมบริเวณชะอำ-หัวหิน-เขาเต่า ก่อนปี 2551 ถึงครึ่งปีหลัง 2564...

เมื่อการออกแบบคือการแก้ปัญหา ชวนมาดูการออกแบบบ้านในพื้นที่รองรับไฟ

ช่วงเมื่อปีก่อนนี้หลายคนคงยังจำได้ว่าเรามักจะได้ยินข่าวเรื่องของไฟป่าไม่ว่าจะเป็นที่ปอดโลกอย่างแอมะซอน ออสเตรเลีย หรือแม้แต่ประเทศไทยเองก้ได้เผชิญกับไฟป่าครั้งรุนแรงเช่นกัน ยิ่งกับออสเตรเลียที่คาดว่าไฟป่าจะเกิดขึ้นเพราะคลื่นความร้อนที่พัดเข้ามาทางฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียเองด้วยแล้วยิ่งทำให้เราได้รู้ว่าสภาพอากาศที่แปรปรวนนี้รุนแรงและร้ายแรงแค่ไหน หลายพื้นที่ที่เผชิญไฟป่าต้องมีการอพยพเพื่อป้องกันความสูญเสีย แน่นอนว่าหลายคนสูญเสียบ้านที่พักอาศัย นี่จึงกลายเป็นโจทย์อย่างหนึ่งของที่อยู่อาศัยในอนาคตที่นอกจากจะต้องรองรับน้ำแล้ว อาจจะต้องสามารถลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากไฟไปด้วย สาเหตุที่บ้านได้รับความเสียหายจากไฟป่า หลายคนอาจจะคิดว่าบ้านที่เสียหายจากไฟป่าย่อมเป็นเพราะไฟลามมาถึงตัวบ้านแต่ในความจริงแล้วยังมีอีกสาเหตุหนึ่งด้วยนั่นคือการที่เปลวหรือสะเก็ดไฟปลิวเข้าไปในบ้านและติดกับวัตถุติดไฟจนลามเกิดเป็นการลุกไหม้จากด้านใน ซึ่งหากไฟไม่มีทางออกก็สามารถทำลายโครงสร้างของบ้านทั้งหมดไปด้วยได้ ดังนั้นบ้านที่ทำแนวกันไฟและไฟป่าลุกลามไปไม่ถึงก็ยังสามารถได้รับความเสียหายได้อยู่นั่นเอง แต่ใช่ว่าจะไม่มีวิธีการป้องกันความเสียหายของบ้านจากไฟป่า เรามาดูหลักการเบื้องต้นที่ช่วยให้เรายังเหลืออะไรเอาไว้บ้างแม้จะเผชิญกับไฟป่าก็ตาม วิธีการป้องกันไฟป่าในพื้นที่เสี่ยงควรสร้างบ้านอย่างไร จะไฟป่าครั้งใหญ่ที่แคลิฟอร์เนีย อเมริกา ที่ออสเตรเลียหรือที่ไทยเองก็ล้วนมีบ้านหลายหลังได้รับความเสียหาย ผู้คนมากมายต้องอพยพ และการย้ายถิ่นฐานออกจากพื้นที่เสี่ยงก็ทำได้ยากเกินไป ทำให้เกิดการคิดค้นวิธีการป้องกันไฟ แม้ว่าจะป้องกันไม่ได้ถึงระดับร้อยเปอร์เซ็นต์แต่ก็ยังทำให้เราเหลืออะไรไว้บ้าง เว้นพื้นที่ระหว่างต้นไม้หรือเชื้อเพลิงกับบ้าน ไฟป่าเป็นไฟที่ลามได้เร็วมากและมีอานุภาพรุนแรงอย่างมากเพราะมันสามารถทำลายได้ทุกสิ่งที่ขวางหน้า ดังนั้นหนึ่งในสิ่งที่ใช้ในการหยุดไฟป่าจึงเป็นไฟด้วยกัน แต่กับบ้านนั้นไม่ได้ เพราะวิธีนี้ต้องมีเทคนิคไม่อย่างนั้นก็เท่ากับเป็นการเติมเชื้อไฟลงไปเท่านั้นเอง หากคุณต้องการป้องกันบ้านจากไฟป่าก็ต้องเว้นช่องว่างจากต้นไม้โดยรอบ สร้างระยะไม่ได้เปลวเพลิงลามเลียมาถึงตัวบ้านได้ ใช้วัสดุทนไฟ เพราะไฟป่าเป็นอะไรที่ควบคุมได้อย่างไม่ต่างจากสภาพอากาศเลยทีเดียว ยิ่งมันมีเกิดขึ้นบ่อย เราก็ยิ่งต้องหาวิธีป้องกันความเสียหาย จึงมีการคิดค้นวัตถุทนไฟขึ้นมาเพื่อใช้ควบคุมความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแทน โดยหากต้องการปกปอ้งโครงสร้างหรือตัวบ้านจากไฟป่าควรใช้วัสดุที่ทนไฟได้อย่างน้อย...

ติดแผงโซลาร์เซลล์ให้บ้านได้หรือไม่ มีประโยชน์กับเราอย่างไรบ้าง

ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจกับวิกฤตสภาพอากาศที่ทวีความร้ายแรงมากขึ้นเรื่อยจากจนมีการรณรงค์ให้หันมาใช้พลังงานสะอาดแทนการใช้พลังงานที่จะสร้างภาระให้กับโลกในท้ายที่สุด แต่ว่าการใช้พลังงานสะอาดที่ว่านั้นจะมีเงื่อนไขที่ต้องเป็นพลังงานสะอาดตลอดวัฏจักรของพลังงานตั้งแต่แหล่งกำเนิด ซึ่งหากหันมาดูอากาศบ้านเราแล้ว หลายคนย่อมนึกถึงพลังงานจากแสงอาทิตย์และที่เราสามารถทำได้เองก็คือการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้กับบ้านนั่นเอง วันนี้ดอทจะมาพูดถึงข้อดีของการติดแผงโซลาร์เซลล์ที่มีต้นทุนค่อนข้างสูงทั้งยังต้องดูแลรักษาตลอดการใช้งานว่ามีข้อดีอย่างไรบ้างที่เราจะได้จากการติดมัน ลดการจ่ายค่าไฟลงได้ หากเราติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แล้วจะมีพลังงานใช้ในบ้านอย่างน้อยก็ตอนกลางวันทำให้ไม่ต้องรับไฟจากการไฟฟ้า มิเตอร์ไฟของการไฟฟ้าจึงไม่วิ่งและมีการเรียกเก็บเงินน้อยลง ยิ่งหากมีการติดตั้งแบบไฮบริดซึ่งเป็นการเก็บพลังงานเอาไว้ในแบตเตอร์รี่สำรองทำให้สามารถใช้ได้ในเวลากลางคืนด้วยก้จะช่วยลดค่าไฟลงได้มากขึ้นอีก จึงเหมาะกับบ้านหรืออาคารที่มีต้องจ่ายค่าไฟมากๆ ขั้นต่ำเลยจะอยู่ที่ราว 3,000 บาทจึงจะคุ้มเพราะการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ระบบไฮบริดนี้มีค่าใช้จ่ายสูงมากทีเดียว ขายไฟให้กับรัฐได้ หลายคนอาจจะมีคำถามว่าหากไฟฟ้าเหลือเราจะทำอย่างไร ซึ่งก็นับเป็นข้อดีอย่างหนึ่งของการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพราะไฟฟ้าเหล่านั้นเราสามารถขายคืนให้กับรัฐได้โดยไฟจะวิ่งกลับคืนไปที่มิเตอร์นั่นเอง ทำให้เราสามารถขายไฟฟ้าให้กับรัฐได้ทันทีเลย มาตรการการขายไฟฟ้าให้กับรัฐนี้ทำให้การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สามารถคืนทุนได้เร้วขึ้น เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าต้นทุนของการติดตั้งนั้นค่อนข้างสูงแม้จะลดน้อยลงมาบ้างแล้วก็ตาม คืนทุนภายในสิบปี จากสองข้อด้านบนที่มีทั้งลดค่าไฟและได้ค่าขายไฟด้วยแล้วทำให้การคืนทุนการติดตั้งมีระยะเวลาที่เร็วขึ้น ยิ่งหากเป้นอาคารขนาดใหญ่หรือบ้านหลังใหญ่ที่มีการใช้ไฟในช่วงกลางวันเป็นหลักด้วยแล้วยิ่งทำให้คืนทุนได้เร็วกว่าบ้านหลังเล็กซึ่งอาจใช้เวลานานถึงสามสิบปี นั่นเป็นเรื่องของต้นทุนทางการเงิน แต่หากกล่าวถึงต้นทุนทางทรัพยากรแล้วนับว่าคุ้มค่ามากทีเดียวเพราะวิธีนี้ไม่มีจุดใดที่สร้างภาระหนักให้กับโลกเลย ดังนั้นบ้านใดที่เปิดเครื่องปรับอากาศหรือใช้ไฟฟ้าในเวลากลางวันเป็นประจำควรลองพิจารณาดู ใช้ไฟจากพลังงานสะอาดได้อย่างเต็มที่ ประเทศไทยมีการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติมากที่สุดนับเป็น 60% ของทั้งหมดแต่ว่าปัจจุบันก๊าซธรรมชาติมีน้อยลงเรื่อยๆ ทำให้เราต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านมาผลิต และอีก 15% ของไฟฟ้าทั้งหมดเราได้จากถ่านหินซึ่งสร้างภาระให้กับโลกอย่างมากใชทำให้ในการประชุม COP26 มีการลงนามลดการใช้ถ่านหินลง...

ฤดูหนาวมาถึงแล้ว ควรเตรียมพร้อมอย่างไรดี

ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวมาตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมาแล้ว แต่ว่าเราอาจจะยังไม่รู้สึกหนาวสักเท่าไหร่นักเพราะตอนนี้เรียกว่าเพิ่งจะเข้าสู่ช่วงเวลาเปลี่ยนฤดูเท่านั้นเราจึงเห็นว่าหลายที่จะยังมีฝนและอากาศแปรปรวนอย่างที่คาดการณ์ไม่ได้กันอยู่บ้าง เรามาดูกันดีกว่าว่าช่วงที่หนาวที่สุดที่เราจะคาดหวังได้นั้นอยู่ที่ช่วงไหนและความหนาวอย่างนี้เราควรจะเตรียมพร้อมอย่างไรดี ความหนาวของประเทศไทย ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีฤดูร้อนยาว ฤดูหนาวสั้น ดังนั้นช่วงที่หนาวสุดของปีจึงอาจมีเพียงหนึ่งถึงสองเดือนเท่านั้น ซึ่งหากนับช่วงที่หนาวที่สุดของปีแล้วจะอยู่ที่ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม โดยความต่ำของอุณหภูมิจะขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่  อุณหภูมิปีนี้เป็นอย่างไรบ้าง ฤดูกาลในประเทศไทยมีฤดูร้อน ฤดูฝนและฤดูหนาวเรียงต่อกันทุกปี ฤดูร้อนที่ผ่านมาทั่วโลกยังคงเผชิญกับไฟป่าหลายพื้นที่ ส่วนในฤดูฝนจีนและยุโรปก็เผชิญกับภัยน้ำท่วมครั้งรุนแรง และในขณะนี้กำลังเข้าสู่ฤดูหนาวประเทศไทยเราก็มีบางพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำทะเลหนุนสูง เพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ กรมอุตุนิยมวิทยาจึงมีการคาดการณ์ไว้ดังนี้ เดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม ช่วงนี้เป็นช่วงที่อากาศกำลังค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเพื่อให้เราเตรียมเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างแท้จริงเราจึงจะได้เจอกับอากาศเย็นในบางวัน ซึ่งอาจจะยังร้อนอยู่ในบางช่วงของวัน และในบางพท้นที่อาจจะได้พบกับอากาศหนาวกันบ้างแล้วและอาจมีหมอกตอนเช้าในบางแห่ง แต่ช่วงนี้เชื่อว่าทุกคนคงสังเกตได้ว่าอากาศเริ่มเย็นกว่าปกติแล้ว กลางเดือนธันวาคมถึงปลายเดือนมกราคม นี่คือช่วงที่เราจะได้พบกับฤดูหนาวอย่างแท้จริงกันสักที เป็นช่วงพีคของฤดูหนาวเลยก็ว่าได้ ใครที่อยากรับความหนาวอย่างเต็มที่ก็แนะนำให้ออกทริปขึ้นเหนือขึ้นเขากันช่วงนี้เลย ซึ่งมีการคาดการณ์เอาไว้ว่าอุณหภูมิต่ำสุดที่เราอาจจะได้เจอในปีนี้คือ 6-7 องศาเซลเซียสกันเลยทีเดียว ต้นเดือนกุมภาพันธ์ เข้าสู่ช่วงปลายฤดูหนาวที่อากาศจะเริ่มเปลี่ยนจากฤดูหนาวกลับสู่ฤดูร้อน...