Search

ไฟแนนซ์ - search results

If you're not happy with the results, please do another search

จัดการหนี้อสังหาฯ ในสภาวะ ‘ตกงาน’

ด้วยสภาพเศรษฐกิจในทุกวันนี้ มันคงยากที่จะหลีกหนีความอัตคัดขัดสน ปัญหาที่ต้องแก้ไข และเรื่องราวอีกมากมายหลายอย่างที่ส่งผลกระทบกับปากท้องและความสมบูรณ์พูนสุขของชีวิตกันอยู่ไม่น้อย แต่ในทางหนึ่ง ความจำเป็นทางด้านปัจจัยสี่เช่นบ้านและที่อยู่อาศัยก็เป็นสิ่งที่ยากจะเลี่ยง เมื่อประกอบกับนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาฯ ในช่วงที่ผ่านมาด้วยแล้วนั้น หลายท่านก็คงจะเห็นว่าเป็นจังหวะที่ดีที่จะเริ่มก้าวเข้าสู่จังหวะถัดไป และเริ่มดำเนินการขออนุมัติสินเชื่อไปในทันที แต่ถ้าความไม่แน่นอนคือสัจธรรมอันสูงสุดของชีวิต (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สภาพเศรษฐกิจเช่นนี้…) ถ้าหากใครที่กำลังมีภาระที่ต้องจ่ายสินเชื่อ แล้วเกิดประสบพบเจอกับ ‘การตกงาน’ โดยไม่คาดฝันแล้วนั้น ขอให้หายใจเข้าลึกๆ แล้วลองมาตรองดูหนทางดังต่อไปนี้ ว่าเผื่อจะช่วยผ่อนผันจากหนักให้กลายเป็นเบา จนเข้าสู่สภาวะที่สามารถ ‘รับมือได้’ ไม่มากก็น้อย //ติดต่อธนาคารเจ้าของสินเชื่อ ก่อนที่คุณจะเริ่มรู้สึกสยองขวัญกับเหตุไม่คาดฝันที่เกิดขึ้น ขอให้เชิดหน้า แล้วไปติดต่อกับธนาคารพาณิชย์ที่คุณทำการขออนุมัติสินเชื่อก่อนเป็นอันดับแรก...

Leverage: ก้าวย่างอย่าง ‘ทบทวี’ (ตอนที่ 1)

ในโลกแห่งการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์นั้น เชื่อเหลือเกินว่ากำแพงสำหรับผู้เริ่มต้นอย่างการ ‘ไม่มีเงินลงทุน’ น่าจะเป็นสิ่งที่ได้ยินอยู่บ่อยครั้ง ก็แน่ล่ะ ราคาของอสังหาฯ แต่ละอย่างมันน้อยๆ เสียที่ไหน จนใครต่อใครอาจจะถอดใจ คิดว่าเรื่องเหล่านี้ มันคงเป็นของคนร่ำรวยมีเงิน หรือมีพื้นฐานดีเสียมากกว่า แต่ขอให้หยุดความคิดเหล่านี้เอาไว้ก่อน เพราะถ้าได้ลองอ่านแนวคิดของนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกที่มีชื่อเสียง จะพบว่าพวกเขามีสิ่งหนึ่งที่กล่าวถึงอยู่เสมอนั่นคือ ‘การทบทวี (Leverage)’ ที่เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยต่อยอดให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถโลดแล่นในตลาดอสังหาฯ ได้อย่างไม่ใช่แค่มั่นคง แต่ก้าวกระโดดทวีคูณขึ้นเป็นเท่าตัว และเชื่อเถอะว่า การทบทวีนี้ เป็นสิ่งที่ผู้สนใจการลงทุนด้านอสังหาฯ ควรทำความเข้าใจเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อความสะดวกทางการลงทุนอย่างไม่อาจประเมินได้ //ย่างก้าวด้วยพลังของ ‘คนอื่น’ Credits:...

เคลียร์ให้ขาด ก่อนประกาศกู้สินเชื่อเพื่ออสังหาฯ

มาช่วงนี้ ใกล้จะผ่านพ้นกันไปอีกหนึ่งปี สำหรับใครที่มีแผนจะซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยเพื่อการเริ่มต้น ก็อาจจะนับได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีมากๆ เพราะมีตัวช่วยอยู่ไม่น้อย ทั้งนโยบายกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ จากทางภาครัฐ จนถึงโปรโมชัน ลด แลก แจก แถมใหม่ๆ จากเจ้าของโครงการอันหลากหลาย เรียกว่าช็อปปิ้งที่อยู่อาศัยในจังหวะนี้น่าจะเป็นอะไรที่ทำให้รู้สึกสุขีสโมสรกันอยู่ไม่น้อย แต่ก่อนที่จะข้ามไปสู่กระบวนการเก็บกระเป๋าเข้าอยู่นั้น ก็ต้องผ่านปราการด่านแรกอย่างการยื่นเรื่องผ่านธนาคารพาณิชย์เพื่อ ‘ขอสินเชื่อ’ กันเสียก่อน ซึ่งก็แน่นอนว่าเป็นอะไรที่ต้องคิดหน้าคิดหลังกันให้ถี่ถ้วน (ด้วยจำนวนเงินที่ไม่ใช่น้อยๆ) และเราก็อยากจะให้คุณ ‘เคลียร์’ เงื่อนไขเหล่านี้ให้ขาดก่อนที่จะประกาศเข้าสู่ระบบสินเชื่อ หนี้ก้อนใหญ่ระยะยาวที่จะผลักคุณไปสู่เวทีอีกระดับของความรับผิดชอบที่จะตามมา //รายได้หรือเงินเดือนคุณ ‘มีพอ’...

ขายบ้านตอนไหน ใช่สุด!

สิ่งที่ยากในแวดวงอสังหาฯ นอกเหนือจากความพยายามเพื่อให้ได้มาในสินทรัพย์ในช่วงแรก (ที่ก็ยากจนไม่รู้จะยากอย่างไร…) แล้วนั้น การตัดสินใจที่จะ ‘ขาย’ สินทรัพย์อสังหาฯ ในการครอบครองของตนเองนั้น ก็จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่มากมายไม่แพ้กัน เพราะแม้ว่ามองโดยเผินๆ แล้วเหมือนไม่มีอุปสรรค ซื้อง่ายขายคล่อง ใครๆ ก็ลงมาเล่นในอสังหาริมทรัพย์กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน แต่เหนือจากปริมาณแล้วนั้น ‘จังหวะ’ ใดที่ควรจะขาย เวลาไหนที่ควรปล่อย ก็ยังเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ และไม่สามารถมองข้ามไปได้ แต่แม้จะมีตัวแปรที่ต้องถูกนำมาคำนวณในการคิดอยู่มากมาย เราอาจจะพอสรุปเป็นสาระสำคัญง่ายๆ สำหรับจังหวะเวลาที่ ‘ใช่’ สำหรับการขายบ้านได้ดังต่อไปนี้ //ดอกเบี้ยทะยานเกินกว่าจะรับได้...                ...

Refinance Hidden Cost: ราคาแห่งก้าวถัดไป

หากเปรียบการซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นกีฬา นี่ก็คงเป็นเกมที่ ‘ยิงยาว’ จนกว่าจะถึงปลายทางกว่านกหวีดสัญญาณจะบอกหมดเวลา มีอุปสรรค มีจุดพลิกผัน และมีสิ่งไม่คาดฝันเกิดขึ้นมากมาย ภายใต้ภาระการผ่อนหนี้สินเชื่อที่มักจะผูกพันในระดับยี่สิบหรือสามสิบปี แน่นอนว่าการเดินทางทางการเงินอันยาวนาน การแก้เกมด้วยการ ‘รีไฟแนนซ์’ หรือการเปลี่ยนสินเชื่อธนาคารเพื่อลดดอกเบี้ย ดูจะเป็นกลยุทธ์ที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้ซื้ออสังหาฯ อย่างต่อเนื่อง (ก็เหมือนการเปลี่ยนตัวช่วงพักครึ่งนั่นล่ะครับ มันต้อง rotation เอาคนที่กำลังดีๆ ลงสนามบ้าง อะไรบ้าง) แต่ในทางหนึ่ง การรีไฟแนนซ์นั้น ก็ไม่ได้มีแต่เพียงข้อดี เพราะ ‘ค่าใช้จ่าย’...

7 เคล็ดลับเลือก “สินเชื่อ” เพื่ออยู่อาศัย

เดี๋ยวนี้คนซื้อบ้านอย่างเรา สบายใจไปได้เปราะใหญ่เลยล่ะค่ะ เพราะบรรดาบริษัททางการเงินต่างๆ ขยันจัดโปรโมชั่น ออกมาแข่งขันแย่งชิงตลาดกัน เรียกได้ว่า ลูกค้าอย่างเรา สามารถเปรียบเทียบเงื่อนไข และผลประโยชน์กันได้อย่างจุใจกันเลยทีเดียว แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า พอมันมีให้เลือกเยอะเกินไป ก็ทำให้เราตัดสินใจลำบาก กันใช่มั้ยล่ะคะ...ดังนั้น วันนี้เรามี 7 เงื่อนไขที่ควรรู้เมื่อจะขอ “สินเชื่อ” เพื่อที่อยู่อาศัย เป็นเคล็ดลับเล็กๆน้อยๆ มาแชร์กันค่ะ 1. วัตถุประสงค์ในการให้สินเชื่อ หากท่านขอสินเชื่อเพื่อการอยู่อาศัยนั้น จะเป็นประโยชน์และง่ายต่อการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินมากกว่า วัตถุประสงค์เพื่อการพาณิชย์ 2. คุณสมบัติของผู้กู้ การที่จะได้รับอนุมัติแบบราบรื่นจากทางสถาบันการเงินนั้น...

Check List เอกสาร ก่อนยื่นกู้…!! ตอนที่ 2

ต่อจากตอนแรก ที่เรานำเสนอเรื่อง ลิสต์เอกสารขอยื่นกู้บ้าน หรือขอสินเชื่อกับธนาคาร ซึ่งก็มี - ธนาคารกรุงไทย - ธนาคารกสิกรไทย - ธนาคารกรุงศรีอยุธยา - ธนาคารออมสิน แฮ่...ใครอยากเห็นลิสต์เอกสารของธนาคารอื่นๆต่อ มาทางนี้จ้า เพราะวันนี้เรามี มาฝากกันอีก 4 ธนาคารด้วยกัน จะมีอะไรกันบ้างนั้น ตามมาชมกันเลยนะจ้ะ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการ (ตัวจริงพร้อมสำเนา) 2. ทะเบียนบ้านทุกหน้า (ตัวจริงพร้อมสำเนา) 3. สำเนาทะเบียนสมรส...

แบงก์ตั้งป้อมตรวจเข้ม “ใบจองคอนโดปลอม”

จะไม่ให้มึนกันได้ยังไงในเมื่อ ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งตรวจเจอ “ใบจองลม”จากดีเวลลอปเปอร์ ที่กรูกันเข้ามาขอเบิกเงินกู้เพื่อสร้างคอนโดฯ กันมากมายเต็มไปหมด ในช่วง 3-6 เดือนที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ต่างพากันเข้มงวดกับเรื่องการปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการต่างๆในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมขนาดกลาง-ล่าง ราคา 3-5 ล้านบาท เนื่องจากเริ่มพบว่ามีผู้ประกอบการเวียนชื่อลูกค้า หรือสร้างชื่อปลอมขึ้นมาเพื่อทำการขออนุมัติเบิกเงินกู้เพื่อนำไปก่อสร้างโครงการ ซึ่งทั้งนี้ เงินกู้งวดแรกจะเบิกได้ก็ต่อเมื่อ มียอดจองเข้ามาไม่ต่ำกว่า 40-50% ของจำนวนยูนิตรวมในโครงการ ก่อนหน้านี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ส่งสัญญาณให้จับตาและระมัดระวังการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เป็นระยะๆอยู่แล้ว ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อผู้บริโภคโดยตรง ดังนั้นสถาบันการเงินทุกแห่งจึงค่อนข้างระมัดระวังตัว เนื่องจากมีบทเรียนยุคฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกเมื่อปี...

แบงก์ผวา NPL หยุดให้กู้“อสังหาฯ”ต่างจังหวัด

นายกฤช หิรัญกิจ ประธานที่ปรึกษาสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดนครราชสีมา เผยว่า ขณะนี้สถาบันการเงินเข้มงวดการพิจารณาปล่อยกู้พรีไฟแนนซ์ หรือสินเชื่อโครงการมาก หากเป็นผู้ประกอบการรายกลาง-รายเล็กที่เป็นหน้าใหม่แทบจะไม่ปล่อยกู้เลย และเป็นทุกสถาบันการเงินไม่เฉพาะธนาคารกรุงไทยเท่านั้น ส่วนถ้ามีประสบการณ์พัฒนาโครงการมาก่อน ถึงแม้จะอนุมัติสินเชื่อแต่วงเงินที่ได้ลดลง จากเดิมเคยให้ 80-90% ของที่ยื่นกู้ เหลือ 70-75% ของค่าก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการคอนโดฯจะถูกมองว่ามีความเสี่ยงสูง และถึงแม้มีประสบการณ์ทำโครงการก่อน แต่ถ้ามีประวัติโครงการในอดีตขายไม่ดี สถาบันการเงินก็อาจไม่ปล่อยเงินกู้ การปรับตัวของผู้ประกอบการตอนนี้คือชะลอโครงการใหม่ เห็นได้จากภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 4 เดือนแรก...

อยากถอนชื่อผู้ร่วมกู้ซื้อบ้าน…ทำไงดี..?

คนธรรมดาๆ หาเช้ากินค่ำอย่างเรา เวลาจะกู้บ้านแล้วเงินไม่พอขึ้นมาก็ต้องหาคนมาช่วยกู้ร่วมด้วย... แต่ครั้นเราเกิดขัดแย้งกับคนที่ร่วมกู้ด้วยกันขึ้นมา แล้วเกิดอยากขอถอนชื่อออกจากการกู้ร่วมแล้วเนี่ย เราจะทำยังไง...?            วันนี้เราเลยมีข้อมูลมาฝากกันค่ะ ส่วนใครที่สนใจเรื่องการกู้ร่วมแต่ยังไม่ค่อยเข้าใจอะไรเท่าไหร่ สามารถคลิกเค้าไปอ่านย้อนหลังกันได้ที่ https://www.dotproperty.co.th/url/e28414f นะคะ เอาหล่ะ ...พร้อมและ มาอ่านกันค่ะ            ความจริงแล้ว ไม่ว่าผู้กู้จะมีสถานะแบบไหน...จะเป็นสามีภรรยา, ญาติพี่น้อง หรือว่า เพื่อน ก็นับว่าตกอยู่ในสถานะผู้กู้ร่วมไม่แตกต่างกันค่ะ แต่ตัวอย่างที่เราจะหยิบยกมาอธิบายในวันนี้ เราจะขอหยิบยก “กรณีสามี-ภรรยา” มาเล่าให้ฟังกันค่ะ กรณีที่คู่สมรสหย่าร้างกันแล้ว ให้เริ่มจาก            1....