Home Search
ซื้อบ้าน - search results
If you're not happy with the results, please do another search
เปรียบเทียบ “ดอกเบี้ย” ก่อนซื้อบ้าน
เมื่อพูดถึงคำว่า “ดอกเบี้ย” ใครๆก็หันหน้าหนีกันใช่มั้ยล่ะคะ แต่ในเมื่อเราจำเป็นต้นเผชิญหน้ากับมันขึ้นมาเพราะว่าตัดสินใจจะกู้ซื้อบ้านขึ้นมาแล้วล่ะก็...ก็คงต้องเข้าสู่ขั้นตอนของการเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยกันหน่อยแล้วล่ะค่ะ
เริ่มจากการเรียนรู้ศัพท์การกู้เงินกันสักหน่อย...!!
MLR (Minimun Loan Rate) : อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี สำหรับการกู้ระยะยาวที่มีระยะเวลาการผ่อนชำระแน่นอน แต่เป็นอัตราดอกเบี้ยประเภทลอยตัว จึงมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย
MOR (Minimun Overdraft Rate) : อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี
MRR (Minimun Retail Rate) : อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี ในสินเชื่อส่วนบุคคล...
กู้ซื้อบ้านต้องรู้…ธนาคารพิจารณาด้วยเกณฑ์ใด
หลังจากตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่าต้องการจะมีบ้าน หรือที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ก็ถึงเวลาที่คุณต้องทำความเข้าใจกับเรื่องของสินเชื่อ เพื่อให้ได้สินเชื่อซื้อบ้านที่ตรงตามความต้องการ
...หลักเกณฑ์การพิจารณาของธนาคารเน้นไปที่การพิจารณาคุณสมบัติของผู้กู้เป็นหลัก
วงเงิน
เริ่มจากดูว่าผู้กู้นั้นกู้เดี่ยวหรือกู้ร่วม ดูความสามารถในการชำระหนี้มีขนาดไหนโดยพิจารณารายได้ โดยปกติวงเงินสูงสุดของสินเชื่อจะอนุมัติอยู่ 40-50 เท่าของรายได้ผู้กู้ทั้งสอง(กู้สองคนได้มากกว่าคนเดียว) อย่างไรก็ตามลักษณะและความมั่นคงของรายได้ก็จะนำมาพิจารณา เช่น งานข้าราชการจะได้โอกาสวงเงินกู้มากกว่า พนักงานบริษัท และจะอนุมัติได้ง่ายกว่า
กรณีที่ทำงานเป็นลูกจ้างบริษัท เครดิตของคุณจะเข้มแข็งหากบริษัทที่ทำงานอยู่มีพนักงาน 10 คนขึ้นไปและดำเนินงานมากกว่า 2 ปี ซึ่งอาจจะได้รับอนุมัติเงินกู้สูงถึง 30 เท่าของรายได้ต่อเดือนหรือค่าจ้าง หรือเพิ่มวงเงินอีกไม่เกิน 15 เท่าของโบนัสและค่าคอมมิชชันเฉลี่ยต่อเดือน
กรณีผู้ประกอบอาชีพอิสระ...
ซื้อบ้านครั้งแรก…ต้องทำยังไง!!
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ก็คงมีความตื่นเต้นและกังวลใจในครั้งแรกเหมือนกัน ใช่มั้ยล่ะคะ
จะเข้าโรงเรียนวันแรก เรียนภาษาที่สองครั้งแรก เปลี่ยนงานใหม่ครั้งแรก ฯลฯ
วันนี้เราเลยจะมาบอกเล่าขั้นตอนเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนซื้อบ้านครั้งแรกกันค่ะ !!!
ถามใจตัวเองก่อน
ก่อนที่จะตัดสินใจซื้ออะไรทุกครั้ง เรายังถามตัวเองก่อนเลยใช่หรือเปล่าคะ ว่าจริงๆแล้วเราอยากได้มันหรือเปล่า บ้านก็เหมือนกัน จะซื้อทั้งที ราคาก็ไม่ใช่ถูกๆก็ต้องเตรียมตัว และถามตัวเองให้ดีก่อนเลยล่ะค่ะ
วางแผนทางการเงิน
ดูความพร้อมทางการเงิน หาข้อมูลช่องทางการกู้ยืมเงิน เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของแต่ละสถาบันทางการเงิน
หานายหน้าเพื่อช่วยคุณซื้อบ้าน
ทำไมต้องใช้นายหน้า...?
เพราะมีประสบการณ์มากกว่า เมื่อมีประสบการณ์มากกว่าก็ย่อมแนะนำข้อดีข้อเสีย ของบ้านแต่ละแบบได้ตรงตามความต้องการของผู้ซื้อมากกว่า
เรียนรู้และหลีกเลี่ยงที่จะผิดพลาด
เมื่อเราศึกษาหาข้อมูล หรือถามจากผู้มีประสบการณ์มากพอ ก็จะช่วยให้เราไม่ต้องปวดใจกับปัญหามากมายที่ตามมาได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเราสามารถศึกษาข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลทั้ง...
ซื้อบ้านอย่างมีสติอย่าหลงไปกับ ‘ดอกเบี้ย’ อันเย้ายวน
สำหรับผู้ที่กำลังเตรียมตัวเพื่อซื้อบ้าน แน่นอนว่าจะต้องเตรียมการสำหรับกู้เงิน และต้องการจะมั่นใจว่าจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้กำไรหรือคุ้มค่ามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
แล้วยิ่งไปเจอการการโฆษณาของโครงการว่าสามารถจับมือกับสถาบันการเงินนำมาซึ่งอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0% ที่แสนจะน่าสนใจจนทำให้ผู้ซื้ออาจตาลุกวาวจนลืมสังเกตสิ่งสำคัญ
นั่นคือเงื่อนไขยิบย่อยยาวเหยียดต่อท้าย!
เพราะอัตราดอกเบี้ยแสนวิเศษมักจะเป็นอัตราในระยะสั้น อาจจะ6 เดือน หรือ 1 ปี แล้วหลังจากนั้นอาจตามมาด้วยดอกเบี้ยในอัตราที่น่าขนหัวลุก จนเงินผ่อนต่องวดพุ่งสูงจนทำเอาผู้ซื้อนั้นล้มทั้งยืนได้ในระยะยาว
ยกตัวอย่างนาย น. ที่ได้สิทธิ์การกู้ซื้อบ้านในอัตรา 0% ระยะเวลา 1 ปีโดยผ่อนชำระเพียง 3,000บาท ต่องวด ซึ่งถือเป็นอัตราที่ถูกมาก แต่พอเลยช่วงโปรโมชั่นดอกเบี้ยจะถูกปรับเป็นเรท MLR ซึ่งอิงกับเรทปัจจุบัน...
ฉลองปีใหม่ ซื้อบ้านกับธนาสิริ เที่ยวฟรีโตเกียว
ฉลองปีใหม่ ซื้อบ้านกับธนาสิริ เที่ยวฟรีโตเกียว
รู้จักการซื้อบ้านหรือคอนโดผ่านนายหน้า
การซื้อบ้านและคอนโดผ่านนายหน้า แม้ว่าจะเป็นวิธีการลงทุนที่ต้องจ่ายในมูลค่าที่สูงกว่าการซื้อบ้านและคอนโดจากวิธีอื่นๆแต่ก็ต้องยอมรับว่าการซื้อผ่านนายหน้านั้นหรือตัวแทนนับเป็นวิธีที่มีความสะดวกมากที่สุด
นายหน้าหรือตัวแทนนั้นมีทั้งแบบอิสระ และแบบบริษัทหรือนิติบุคคล ซึ่งนายหน้าแบบหลังนี้จะมีรายชื่อของบ้านและคอนโดให้เลือกมากมาย แทบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น บ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิชย์ แยกตามระดับราคาทำเลที่ตั้ง สะดวกต่อผู้ซื้อเป็นอย่างมากทางนายหน้าจะทำการดำเนินการให้ผู้ซื้อเกือบทุกขั้นตอนตั้งแต่การหาบ้านและคอนโดที่ลูกค้าต้องการมาให้เลือก พาไปดูสถานที่จริง ร่วมเจรจาตกลงราคาให้ทั้งสองฝ่าย ดำเนินการร่างสัญญา และบริษัทนายหน้าบางแห่งก็บริการแม้แต่ขั้นตอนเรื่องการขอสินเชื่อจากทางสถาบันการเงิน
แม้จะนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่มากกว่าการซื้อขายกับเจ้าของบ้านหรือคอนโดโดยตรงแต่การซื้อขายบ้านหรือคอนโดผ่านตัวแทนหรือนายหน้านั้นก็เป็นช่องทางที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเพราะตอบโจทย์เรื่องความสะดวกสบายให้แก่ผู้ซื้อได้เป็นอย่างดี นัดวันเวลาที่ตรงกันให้ได้นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยสูงในวันนัดดูทั้งยังช่วยประสานงานให้ได้กรณีที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายเป็นบุคคลมีชื่อเสียงหรือต้องการความเป็นส่วนตัวโดยทั่วไปอัตราค่านายหน้าจะอยู่ที่ประมาณ 1-3% ของราคาที่ขาย หรืออาจคิดเป็นเปอร์เซ็นจากกำไรตามแต่กฎเกณฑ์การคิดของนายหน้าที่แตกต่างกันโดยส่วนมากผู้ขายจะเป็นผู้จ่ายช่องทางการเข้าถึงบ้านและคอนโดมือสองผ่านนายหน้านั้นคล้ายกับการหาบ้านหรือคอนโดที่ขายโดยเจ้าของ คือการติดต่อตรงไปยังบริษัทหรือการค้นหาทางอินเตอร์เน็ต เพื่อหาตัวแทนนายหน้าเพื่อติดต่อหรือตรวจสอบข้อมูลในเว็บไซต์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ
ข้อควรระวังเรื่องกรรมสิทธิ์ในการซื้อบ้าน
สำหรับผู้ที่เลือกซื้อบ้านและคอนโดจากเจ้าของโดยตรง นอกจากต้องคำนึงถึงข้อดีข้อเสียแล้วข้อควรระวังอีกอย่างคือเรื่องของกรรมสิทธิ์
จากผู้ขาย หรือสิทธิ์ความเป็นเจ้าของบ้าน คือจะต้องตรวจสอบว่าบ้านหรือคอนโดที่กำลังจะซื้อนั้นมีเจ้าของ 1 คน หรือมากกว่า
หากมีเจ้าของมากกว่า 1 คนก็ต้องพิสูจน์โดยการเรียกดูเอกสารว่าเจ้าของทุกคนยินยอมขายหรือไม่ หากผู้มีสิทธิ์เป็นเจ้าของตามโฉนดคนอื่นๆ
ไม่ได้ลงชื่อยินยอมก็ไม่ควรตัดสินใจซื้อเพราะหากเจ้าของคนอื่นๆไม่ยินยอม จะต้องส่งผลให้การขายไม่สมบูรณ์และไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
นอกจากสิทธิ์ความเป็นเจ้าของต้องตรวจสอบว่าเชื่อผู้ขายกับเจ้าของในโฉนดตรงกันหรือไม่ หากไม่ใช่ชื่อเดียวกัน ผู้ชายต้องมีหนังสือรับมอบอำนาจ
หรือหนังสือแสดงความเป็นตัวแทนในการเจรจาที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของตัวจริงเพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา
การตรวจสอบเลขที่โฉนดก็สำคัญ ก็ต้องมีการตรวจสอบโฉนดว่าบ้านหรือห้องชุดนั้นๆ มีเลขที่ตรงกันหรือเปล่า การตรวจสอบที่น่าเชี่อถือสามารถตรวจสอบ
ได้ที่กรมท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อตรวจสอบว่าเป็นฉบับจริงหรือไม่ นอกจากนี้ในสัญญาซื้อขายก็จำเป็นต้องระบุเลขที่โฉนดและเลขที่บ้านอย่างละเอียดรวมถึงการตรวจสอบ
กับผู้ขายว่าติดจำนองที่ไหนหรือไม่
กรณีโฉนดติดจำนอง ทางผู้รับจำนองต้องมาทำหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ และต้องชำระเงินที่ติดจำนอง จึงต้องตกลงว่าใครจะเป็นผู้ชำระในส่วนนี้
หากผู้ซื้อต้องจ่ายเอง ควรแยกจ่ายเป็นค่าจำนองเป็นเช็คสั่งจ่ายสถาบันการเงิน และค่าบ้านให้เจ้าของเพื่อป้องกันปัญหาที่ว่าเจ้าของจะนำเงินไปทั้งหมด
เพราะบ้านและคอนโดแม้จะเป็นมือสองแต่ก็เป็นการลงทุนที่มีมูลค่าสูง จึงต้องป้องกันความเสี่ยงเรื่องกรรมสิทธิ์ที่อาจะเกิดขึ้นได้
กฎหมายและระเบียบควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านและคอนโดขายทอดตลาด
ผู้ที่เลือกลงทุนกับ NPA จากกรมบังคับคดี ล้วนต้องการได้บ้านหรือคนโดคุณภาพดีในราคาต้นทุนที่ถูก
อย่างไรก็ตามราคาของทรัพย์สินขายทอดตลาดย่อมแลกมาด้วยขั้นตอนที่มากกว่า NPA ที่รอการขาย
ของสถาบันการเงิน นอกจากนี้การที่ต้องติดต่อ และประมูลทรัพย์สินจากกรมบังคับคดี ยังทำให้ผู้ลงทุนต้องเรียนรู้ถึงระเบียบ
และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
วันนี้ทาง dotproperty จึงนำระเบียบและข้อกฎหมายควรรู้สำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนกับทรัพย์สินขายทอดตลาดจาก
กรมบังคับคดีมานำเสนอ เพื่อการวางแผนที่ถูกต้องสำหรับผู้ลงทุนและผู้สนใจซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยในราคาถูก มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
1. ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลจะถูกเรียกว่า “ผู้เข้าสู้ราคา” จะต้องลงชื่อพร้อมที่อยู่ในสมุดรายงานการขายทอดตลาด
เมื่อต้องการซื้อที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากกรมบังคับคดี
2. หากเข้าสู้ราคาในนามบุคคลอื่น ต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนการประมูล มิเช่นนั้น
ทางเจ้าพนักงานจะถือว่า บุคคลนั้นเข้าร่วมประมูลด้วยตนเอง ซึ่งกรรมสิทธิ์เมื่อโอนย่อมตกเป็นของบุคคลที่เข้าสู้ราคานั้น เปลี่ยนชื่อ
ผู้สู้ราคาภายหลังไม่ได้
3. เข้าสู้ราคาด้วยปากเปล่า...
ทำอะไร ตอนไหน…เจาะลึกขั้นตอนซื้อบ้าน-คอนโดมือสองNPAจากสถาบันการเงิน
เป็นที่ทราบกันดีกว่า NPA ในรูป ทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นจะมีขั้นตอนการซื้อที่ง่ายกว่า
NPA ที่เป็นทรัพย์สินขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี จึงไม่แปลกใจที่หลายคนจะเลือกลงทุนกับทรัพย์สินรอการขาย แต่หลายครั้งผู้ลงทุน
และผู้ที่ต้องการจะซื้อบ้านหรือคอนโดมือสองNPA เกิดความสงสัยว่าหากเราตัดสินใจแล้วว่าต้องการซื้อNPA ของสถาบันการเงินต้องทำอะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
วันนี้ dotproperty เลยไม่รอช้านำขั้นตอนในการซื้อบ้านและคอนโด NPA มาเสนอ ขั้นตอนแบ่งออกได้ ดังนี้
1. รับแบบฟอร์มเสนอซื้อ
ผู้ซื้อสามารถทำการขอรับแบบฟอร์มคำเสนอซื้อได้ที่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ หรือทางเว็บไซต์ในบางสถาบัน แต่บางที่อาจทำการเสนอ
ซื้อผ่านเว็บได้เลย
2.กรอกแบบฟอร์ม เตรียมหลักฐาน
ผู้เสนอซื้อทำการระบุรายละเอียดราคา และเงื่อนไขการเสนอซื้อ ลงนาม พร้อมแนบเอกสารดังนี้
- กรณีบุคคลธรรมดา...
จะซื้อบ้านและคอนโดNPAได้อย่างไร
หลังจากผ่านขั้นตอนการเลือกเฟ้น เสาะหา และสำรวจ บ้านหรือคอนโด NPA ที่ตรงใจได้แล้ว ก็ถึงเวลาการตัดสินใจซื้อของผู้ลงทุน
การเปิดขายทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1. การยื่นเสนอราคา
สถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์มักจะลงประกาศขาย NPA ในเว็บไซต์ หรือในโบรชัวร์ โดยจะกำหนดราคาขายเอาไว้
เมื่อมีผู้สนใจติดต่อขอซื้อในราคาดังกล่าว ส่วนใหญ่ทางสถาบันการเงินจะตกลงขายให้แก่ผู้สนใจทันที
แต่ก็มีบางครั้งที่ทรัพย์สินรอการขายนั้นไม่ได้มีผู้สนใจมากมายนัก แล้วมีผู้สนใจติดต่อขอซื้อในราคาที่ต่ำกว่าที่ทางสถาบันการเงินหรือ
บริษัทบริหารสินทรัพย์เสนอขายไว้ กรณีนี้ทางสถาบันการเงินจะนำราคาที่มีผู้เสนอซื้อ นำเสนอต่อคณะกรรมการสำหรับพิจารณาว่าจะขายหรือไม่
เวลาที่ใช้อยู่ที่ 7-15 วัน แล้วค่อยรายงานผลการตัดสินใจ
ในบางครั้งบ้าน คอนโด...