Search

สินเชื่อ - search results

If you're not happy with the results, please do another search

จัดการหนี้อสังหาฯ ในสภาวะ ‘ตกงาน’

ด้วยสภาพเศรษฐกิจในทุกวันนี้ มันคงยากที่จะหลีกหนีความอัตคัดขัดสน ปัญหาที่ต้องแก้ไข และเรื่องราวอีกมากมายหลายอย่างที่ส่งผลกระทบกับปากท้องและความสมบูรณ์พูนสุขของชีวิตกันอยู่ไม่น้อย แต่ในทางหนึ่ง ความจำเป็นทางด้านปัจจัยสี่เช่นบ้านและที่อยู่อาศัยก็เป็นสิ่งที่ยากจะเลี่ยง เมื่อประกอบกับนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาฯ ในช่วงที่ผ่านมาด้วยแล้วนั้น หลายท่านก็คงจะเห็นว่าเป็นจังหวะที่ดีที่จะเริ่มก้าวเข้าสู่จังหวะถัดไป และเริ่มดำเนินการขออนุมัติสินเชื่อไปในทันที แต่ถ้าความไม่แน่นอนคือสัจธรรมอันสูงสุดของชีวิต (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สภาพเศรษฐกิจเช่นนี้…) ถ้าหากใครที่กำลังมีภาระที่ต้องจ่ายสินเชื่อ แล้วเกิดประสบพบเจอกับ ‘การตกงาน’ โดยไม่คาดฝันแล้วนั้น ขอให้หายใจเข้าลึกๆ แล้วลองมาตรองดูหนทางดังต่อไปนี้ ว่าเผื่อจะช่วยผ่อนผันจากหนักให้กลายเป็นเบา จนเข้าสู่สภาวะที่สามารถ ‘รับมือได้’ ไม่มากก็น้อย //ติดต่อธนาคารเจ้าของสินเชื่อ ก่อนที่คุณจะเริ่มรู้สึกสยองขวัญกับเหตุไม่คาดฝันที่เกิดขึ้น ขอให้เชิดหน้า แล้วไปติดต่อกับธนาคารพาณิชย์ที่คุณทำการขออนุมัติสินเชื่อก่อนเป็นอันดับแรก...

แนวทางการแก้ปัญหาเมื่อราคาประเมิน … ต่ำ

การประเมินสินทรัพย์อสังหาฯ (Real Estate Appraisal) …คำๆ นี้อาจจะเป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องในแวดวงต่างได้ยินกันจนคุ้นชิน เป็นขั้นตอนระดับสามัญที่ต้องพึงกระทำโดยธนาคารกลางเพื่อพิจารณาว่า สินทรัพย์ชิ้นนั้นๆ มีมูลค่ามากเพียงใด ผ่านตัวแปรและปัจจัยต่างๆ อย่างรอบด้านประกอบกัน มองดูเผินๆ แล้ว เหมือนจะเป็นธุระของ ‘ผู้ขาย’ มากกว่า ‘ผู้ซื้อ’ ที่ต้อง ‘Take it serious’ ถ้าการประเมินราคาสินทรัพย์นั้นต่ำกว่ามาตรฐานที่ตั้งใจ (เพราะมันหมายถึงราคาโดยรวมนั้นอาจจะไม่เข้าเป้าอย่างที่วาดหวังเอาไว้) แต่ในทางกลับกัน สำหรับผู้ซื้อแล้ว...

Leverage: ก้าวย่างอย่าง ‘ทบทวี’ (ตอนที่ 2)

ในบทความตอนที่แล้ว เราได้กล่าวกันถึงวิถีทางของการ Leverage หรือพลังแห่งการทบทวีในแวดวงอสังหาริมทรัพย์กันไปบ้างโดยคร่าวๆ (และเน้นไปที่ส่วนของ Leverage of Money หรือการลงทุนด้วยเงินของตนเองให้น้อยที่สุดเป็นปัจจัยหลักของเนื้อหา) เชื่อว่าหลายท่าน น่าจะรู้สึกได้ว่า วิธีการดังกล่าวนั้น น่าสนใจ และมีแนวโน้มของความเป็นไปได้สำหรับการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์อยู่ไม่น้อย แต่ในทางหนึ่ง นักลงทุนอสังหาฯ ระดับโลกเองต่างก็ย้ำอยู่เสมอว่า การลงทุนด้วย Leverage of Money นั้น มีข้อพึงระวังเอาไว้อยู่หลายประการด้วยกัน เพราะขึ้นชื่อว่า ‘คานงัด’...

ซื้อด้วยหัวใจแบบ ‘ผู้ขาย’: เทคนิคที่จะทำให้การซื้ออสังหาฯ นั้นมีประสิทธิภาพ

ขึ้นชื่อว่าการซื้อบ้านหรือที่อยู่อาศัยนั้น แน่นอนว่าเป็นหนึ่งในการลงทุนครั้งสำคัญของชีวิตที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ด้วยจำนวนเงิน และระยะเวลาที่ต้องทุ่มเทลงไปในการเดินทางระยะยาวสายนี้ และเป็นเหตุปัจจัยที่ผู้ซื้อ ต้องพิจารณาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในหลายส่วน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการซื้อเพื่อ ‘อยู่’ จะแตกต่างจากการซื้อเพื่อ ‘ขาย’ หรือลงทุนให้เกิดกำไร แต่การประยุกต์หลักคิดของการซื้อเพื่อลงทุนสำหรับอสังหาฯ เพื่อการอยู่อาศัยนั้น ก็มีข้อดีที่จะช่วยเติมเต็มให้ผลลัพธ์ปลายทางนั้น ชัดเจน และมีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น //มองทำเลให้ขาด Credits: chestnutpark.com โอเค เรารู้ว่าคุณผู้อ่านอาจจะหน่ายๆ กับข้อแนะนำนี้มาบ้างพอสมควร (แม้มันจะจริงเสียยิ่งกว่าจริง…) แต่ในมุมมองของนักซื้ออสังหาฯ เพื่อการลงทุน ทำเลนั้นจะถูกมองขาดมากกว่าการเป็นเพียงแค่...

แนวดิ่งหลบไป แนวราบกำลังมา: เหตุผลที่คุณควรพิจารณาบ้านและทาวน์เฮาส์ในปี 2559

เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนเพื่อนสนิทที่คบหากันมานับสิบปี ณ บ้านหลังใหม่ที่เขาได้ซื้อไว้เพื่อทดแทนที่อยู่อาศัยเดิม เป็นบ้านสองชั้นขนาดย่อมๆ ละแวกรอบนอกชานเมือง ที่แม้ว่าจะไม่ได้ใหม่สวยสด แต่ก็นับว่าอยู่ในสภาพที่ดีเพียงพอสำหรับเขาและคุณแม่ได้อย่างสบายๆ เรานั่งลงสนทนาปราศรัยกันอยู่นานสองนานตามประสาคนไม่ได้พบพานกันมาแรมปี ก็อดถามไปด้วยความสงสัยไม่ได้ ว่าเหตุใด จึงเลือกที่จะซื้อบ้านเดี่ยว แทนที่จะเป็นคอนโดมิเนียมทำเลศักยภาพเช่นเดียวกับที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน ด้วยข้อจำกัดทางด้านพื้นที่ และวิถีการใช้ชีวิต คอนโดมิเนียมจึงกลายเป็นทางเลือกที่เหมาะสมอย่างยิ่งในปัจจุบัน Credits: apthai.com ในส่วนคำตอบ ขอละไว้ในฐานที่อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับบทความหัวข้อวันนี้มากนัก (สรุป: ใกล้ที่ทำงาน มีเวลาให้กับที่บ้าน…) แต่เมื่อมาดูทิศทางของอสังหาริมทรัพย์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ.2558 และปี...

วัดใจในอีกหกเดือนข้างหน้า อสังหาฯ ค่าจดจำนอง 0.01

  ในตอนนี้ เป็นเวลาหนึ่งเดือน หลังการประกาศลดค่าโอนจดจำนอง เหลือ 0.01% ตามนโยบายกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของทางภาครัฐ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระผู้ซื้อและผู้ประกอบการ รวมถึงเพิ่มความคล่องตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมให้เกิดขึ้น หลังมีการชะลอตัวอย่างมากในตลอดปี พ.ศ.2558 ซึ่งแน่นอนว่าทั้งหมด ส่งผลดีต่อผู้ที่มีความต้องการซื้ออสังหาฯ และที่อยู่อาศัย เนื่องด้วยการลดค่าจดจำนองจากอัตรา 2% มาอยู่ที่ 0.01% นั้น ถือได้ว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อย เมื่อพิจารณาจากจำนวนที่ต้องส่งเพื่อจดจำนองก่อนส่งมอบในทางปฏิบัติปกติ นำร่องนโยบายด้วยธนาคารอาคารสงเคราะห์ กับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย...

2559: หรืออสังหาฯ กำลังจะขาลง!? (ตอนที่ 2)

ในบทความตอนที่แล้ว เราได้นำเสนอเกี่ยวกับประเด็นเกี่ยวกับแนวโน้ม ‘ขาลง’ ของแวดวงอสังหาริมทรัพย์ในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นสัญญาณเบื้องต้นจากทางภาคเอกชน กับสภาวะที่เกิดขึ้นจริงในรอบสองเดือนของไตรมาสสุดท้ายปี พ.ศ. 2558 มาในบทความชิ้นนี้ เราจะขออนุญาตคุณผู้อ่าน นำเสนอรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาถึงแนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้นจริง เพื่อให้ทุกท่านได้เพิ่มความระมัดระวังในการตัดสินใจด้านอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมกันอีกสักเล็กน้อย //ราคาที่ไม่สัมพันธ์กับความต้องการและทำเล จากปัญหาด้านโอเวอร์ซัพพลาย หรือปริมาณยูนิตอสังหาริมทรัพย์ที่มากเกินกว่าความต้องการนั้น ทางหนึ่งเกิดจากการตื่นตัวของแวดวงที่มีในรอบสิบปีที่ผ่านมา การขยายตัวของเมือง โครงการสาธารณะที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นในระยะอันใกล้ เหล่านี้ ต่างเป็นปัจจัยที่หนุนส่งการลงทุนของผู้ประกอบการอสังหาฯ แทบทั้งสิ้น กระนั้นแล้ว ปริมาณที่มีมากเกินกว่าความต้องการ ผนวกพ่วงด้วยราคาที่ดินอันเป็นต้นทุนของผู้ประกอบการที่ทะยานสูงขึ้น...

2559: หรืออสังหาฯ กำลังจะขาลง!? (ตอนที่ 1)

ในรอบไตรมาสสุดท้ายของปี 2558 ที่ผ่านมานั้น สำหรับใครที่ได้ติดตามแวดวงอสังหาฯ ก็คงจะทราบถึงความพยายามจากภาครัฐ ที่จะกระตุ้นความตื่นตัวของตลาดผ่านนโยบายต่างๆ ที่ภาคเอกชนก็ต่างตอบสนองกันอย่างแข็งขัน มีการโฆษณา ออกโปรโมชัน และจัดแคมเปญต่างๆ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในสายตาของผู้ซื้อ และนักลงทุนมาโดยตลอด Credits: investkamloops.com แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ทำให้ความเสี่ยงของการลงทุนใดๆ นั้น เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ และแม้ว่าโลกแห่งอสังหาริมทรัพย์จะเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ แต่สัญญาณของความเสื่อมถอยและจุดอันตรายก็ยังคงโผล่หน้าเข้ามาทักทายเป็นพักๆ เพียงถ้าเราจะลองอ่าน ‘ระหว่างบรรทัด’ ของสิ่งที่เกิดขึ้นให้ชัดเจนกันอีกสักนิด ว่าปี พ.ศ. 2559...

เงินเดือนหมื่นห้าก็ลงทุนอสังหาฯ ได้! เคล็ดลับฉบับมนุษย์เงินเดือน (ตอนที่ 2)

ในตอนที่แล้ว เราได้เกริ่นนำถึงความน่าสนใจ และข้อดีของการลงทุนอสังหาริมทรัพย์สำหรับพนักงานเงินเดือนกันไปแล้วโดยคร่าวๆ แน่นอนว่าด้วยผลตอบแทนที่ค่อนข้างชัดเจน มูลค่าที่ไม่ผันไปตามสภาวะเศรษฐกิจได้ง่าย และทางเลือกที่หลากหลายสำหรับการเริ่มต้น จึงไม่น่าแปลกใจนักที่อสังหาริมทรัพย์จะเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการลงทุนในยุคสมัยปัจจุบัน Credits: assetquest.com อย่างไรก็ตาม ทุกการลงทุนมาพร้อมกับ ‘ความเสี่ยง’ และข้อควรระวังที่นักลงทุนควรพิจารณาและให้การใส่ใจ (ไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานเงินเดือนหรือไม่ก็ตาม…) ที่เราอาจจะต้องทบทวนกันอีกสักครั้ง ไม่ใช่เพื่อให้เกิดความกลัว แต่เพื่อความระวังที่มากพอ และผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่จะได้รับกลับมา //สินทรัพย์อสังหาฯ ที่ได้มา เพื่อจุดประสงค์ใด? หลายท่านอาจจะรู้สึกว่า การซื้ออสังหาริมทรัพย์ (ไม่ว่าจะบ้าน คอนโดมิเนียม หรือที่ดิน) จนได้รับส่งมอบแล้วก็ถือว่าเพียงพอ...

เงินเดือนหมื่นห้าก็ลงทุนอสังหาฯ ได้! เคล็ดลับฉบับมนุษย์เงินเดือน (ตอนที่ 1)

มายุคนี้สมัยนี้ แม้ว่าการทำมาหากินในแบบปกติทั่วไป (ไม่ว่าจะงานประจำหรือฟรีแลนซ์) จะเป็นบัญญัติพื้นฐานของการใช้ชีวิตที่สมบูรณ์ตามอัตภาพ (ระดับหนึ่ง) แต่ดูเหมือนว่าการฝากทั้งชีวิตที่เหลือด้วยรายได้กระเป๋าสตางค์ใบเดียว อาจจะไม่ใช่ปรัชญาที่ปลอดภัยนักท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและสังคม (ทั้งชีวิตก็มีแต่ 'เรา' นี่ล่ะครับที่ต้องดูแลเอง ไม่มีใครอื่น...) นั่นทำให้ ‘การลงทุน’ กลายเป็นคำฮิตที่ได้รับการกล่าวถึงในรอบหลายปีที่ผ่านมาอย่างหนาหู พร้อมด้วยทางเลือกเพื่อการดังกล่าวอันมากหลาย ที่ตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างทั่วถึง Credits: bdtonline.com แต่เมื่อพูดถึงการลงทุนใน ‘อสังหาริมทรัพย์’ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโดมิเนียม หรือที่ดิน ก็มักจะเป็นสิ่งที่ทำให้ต้องชะงักคิดหน้าหลังซ้ำสองอยู่ไม่น้อย เพราะแม้จะมีความมั่นคงปลอดภัย ผลตอบแทนที่คุ้มค่า...

Subscribe to receive the latest property news