Search

สินเชื่อ - search results

If you're not happy with the results, please do another search

Refinance Hidden Cost: ราคาแห่งก้าวถัดไป

หากเปรียบการซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นกีฬา นี่ก็คงเป็นเกมที่ ‘ยิงยาว’ จนกว่าจะถึงปลายทางกว่านกหวีดสัญญาณจะบอกหมดเวลา มีอุปสรรค มีจุดพลิกผัน และมีสิ่งไม่คาดฝันเกิดขึ้นมากมาย ภายใต้ภาระการผ่อนหนี้สินเชื่อที่มักจะผูกพันในระดับยี่สิบหรือสามสิบปี แน่นอนว่าการเดินทางทางการเงินอันยาวนาน การแก้เกมด้วยการ ‘รีไฟแนนซ์’ หรือการเปลี่ยนสินเชื่อธนาคารเพื่อลดดอกเบี้ย ดูจะเป็นกลยุทธ์ที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้ซื้ออสังหาฯ อย่างต่อเนื่อง (ก็เหมือนการเปลี่ยนตัวช่วงพักครึ่งนั่นล่ะครับ มันต้อง rotation เอาคนที่กำลังดีๆ ลงสนามบ้าง อะไรบ้าง) แต่ในทางหนึ่ง การรีไฟแนนซ์นั้น ก็ไม่ได้มีแต่เพียงข้อดี เพราะ ‘ค่าใช้จ่าย’...

Escrow: กองกลางวางประกัน

  อสังหาริมทรัพย์นั้น อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นธุรกิจที่มีอัตราหมุนเวียนของเงินทุนต่อโครงการหนึ่งๆ เป็นจำนวนที่สูงไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นโครงการสร้างบ้านเดี่ยวขนาดย่อมหนึ่งหลัง จนถึงโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ แน่นอนว่ากระแสเงินทุนจำนวนมากนั้น มีความเสี่ยงต่อความผิดพลาด การฉ้อโกง และความล้มเหลว เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วตามช่วงเวลาต่างๆ อาทิ วิกฤติต้มยำกุ้งปี พ.ศ. 2540 (การสวิงของค่าเงินในภูมิภาคอาเซียนอย่างเฉียบพลัน) จนถึงวิกฤติ Subprime (สินเชื่อด้อยคุณภาพจากอเมริกาที่กระเทือนภูมิภาคต่างๆ เป็นลูกโซ่) และเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ในทางการเงินและอสังหาริมทรัพย์จึงมีมาตรการอย่าง ‘Escrow’ เพื่อป้องกันความผิดพลาดต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น Credits: michaeldunn.com ระบบ...

Peer-to-Peer Lending: กู้เพียวๆ ม้วนเดียวจบ! (ตอนที่ 2)

จากตอนที่แล้วที่เราได้เกริ่นนำเกี่ยวกับระบบสินเชื่อและการกู้ยืมแบบ Peer-to-Peer Lending อันเป็นนวัตกรรมใหม่ทางด้านสินเชื่อและธุรกรรมทางการเงิน ภายใต้ความก้าวหน้าของการสื่อสารและโลกแห่ง Social Media โดยไม่จำเป็นต้องผ่านคนกลางอย่างธนาคารพาณิชย์ ที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางในต่างประเทศกันไปแล้ว อย่างไรก็ตาม จะมากหรือน้อย มันยังคงมีสิ่งที่น่ากังขาสำหรับระบบสินเชื่อแบบ ‘ทำมือ’ ที่เป็นปัจจัยไม่ให้ระบบดังกล่าวได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างที่ควรจะเป็น แม้ว่ามันจะมีข้อดีที่น่าสนใจอยู่มากสักเพียงใดก็ตาม //ความไม่ยืดหยุ่นของ Peer-to-Peer Lending แม้ว่าระบบ Peer-to-Peer Lending ของต่างประเทศ จะอ้างอิงจากมาตรฐานการตรวจสอบเครดิตของผู้ขอกู้ยืมเงินผ่านมาตรวัดต่างๆ อาทิ FICO...

Peer-to-Peer Lending: กู้เพียวๆ ม้วนเดียวจบ! (ตอนที่ 1)

‘ทุกความฝันเป็นจริงได้….ถ้ามีเงิน’ ประโยคดังกล่าวนี้ มันอาจจะฟังดูโหดร้ายไม่ไว้หน้า แต่มันก็คือความเป็นจริงของโลกที่ขับเคลื่อนภายใต้เศรษฐกิจทุนนิยม ที่เงินตรา ทั้งแบบจับต้องได้และไม่ได้ ยังเป็นสื่อกลางสำคัญสำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะแวดวงอสังหาริมทรัพย์ ที่ปัจจัยต่างๆ นั้น มีราคาที่ต้องจ่ายในอัตราที่มากน้อยแตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้ว ก็อยู่ในระดับที่สูงถึงสูงมาก จนทางเลือกอย่างการกู้ยืม หรือสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ดูจะเป็นของจำเป็นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ (ก็ค่าแรง อิฐ หิน ปูน ทราย ยังไงมันก็ต้องจ่ายอยู่วันยังค่ำ…) กระนั้นแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่ดูจะสูงขึ้นทุกปีตามสภาพและการปรับตัวตามเศรษฐกิจ แม้จะไม่กระทบกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่...

เงินสามล้าน ซื้อ ‘บ้าน’ ที่ไหนดี

ท่ามกลางตลาดอสังหาริมทรัพย์ยุคสมัยปัจจุบัน คงยากที่จะปฏิเสธได้ว่า การจะซื้อหาบ้านหรือที่อยู่อาศัยสักแห่ง มันเป็นเรื่องที่ต้องคิดแล้วคิดอีก ผ่านการพิจารณา ทบทวนทุกปัจจัยก่อนจะจ่ายเงินออกไปอย่างถี่ถ้วนชนิดเก็บทุกเม็ดไม่มีตกหล่น จะเก็บเงินดาวน์เอาไว้เท่าไหร่ จะกู้จากธนาคารไหน จะเลือกสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยแบบใด เหล่านี้ คือเงื่อนไขปราการด่านแรกสำหรับคนที่คิดจะลงหลักปักฐานในบ้านและอสังหาริมทรัพย์แทบทั้งสิ้น แต่อย่างน้อย ด้วยแนวโน้มมาตรการใหม่ของทางภาครัฐที่จะอุดหนุนธุรกิจภาคอสังหาฯ และการประกาศวงเงินสินเชื่อจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จาก 1.5 ล้าน ขึ้นไปอยู่ที่ 3 ล้านบาท ก็น่าจะช่วยให้ผู้ซื้อรายย่อยอย่างเราๆ ขยายทางเลือกได้มากขึ้น แต่ถ้ายังไม่รู้จะมองหาบ้านหรือคอนโดฯ จากที่ไหน...

Debt Service Coverage Ratio (DSCR): ‘กู้ได้’…แล้ว ‘จ่ายไหว’ หรือเปล่า?

การมีบ้านและที่อยู่อาศัยนั้น น่าจะเรียกได้ว่าเป็นความฝันลำดับต้นๆ ของแต่ละคน ยิ่งในปัจจุบันที่ธนาคารพาณิชย์ต่างมีเงื่อนไขโดนใจ โปรโมชั่นเด็ดๆ รวมถึงทางฝั่งเจ้าของโครงการทั้งหลายก็ดูจะใจป้ำ งดเว้นเงินทำสัญญา ลดราคาค่าจอง และอื่นๆ อีกมากจนดูเหมือนว่าอะไรๆ ก็ดูง่ายไปหมด ทำงานสักสองสามปี ค่อยๆ ผ่อนไป เท่านี้เองไม่ใช่อะไรยากเย็น แค่มีสลิปเงินเดือน มีรถ มีสินทรัพย์ ‘กู้ผ่าน’ สบายหายห่วง Credits: mossenbergrealestate.com แต่ในทางหนึ่ง ธนาคารทั้งหลายก็ไม่ใช่องค์กรการกุศล และผลกำไรจากดอกเบี้ยเงินกู้ก็คือเป้าหมายใหญ่เพื่อขับเคลื่อนให้เดินหน้าต่อไป ดังนั้นแล้ว...

ภาษีบ้านอัตราใหม่ เริ่มใช้ปี 60

กระทรวงการคลังสรุปภาษีที่ดินอัตราใหม่ รอเสนอ ครม. เริ่มประกาศใช้ปี 2560 กระทรวงการคลังเผยว่า ได้สรุปร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว. คลัง พิจารณาเพื่อส่งเรื่องให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับแวดวงอสังหาริมทรัพย์คือ ภาษีที่ดินเพื่ออยู่อาศัย จะเริ่มที่มูลค่าไม่เกิน 2 ล้านบาท เก็บภาษี 0.03% หรือคิดเป็นภาษีที่จ่าย 600 บาท/ปี ไล่ไปจนถึงบ้านราคา 100...

ข้อพึงระวัง จำให้ขึ้นใจ สำหรับหน้าใหม่การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ (ตอนที่ 2)

ในบทตอนที่แล้ว เราได้พูดถึงการเตรียมความพร้อมและประเมินขีดความสามารถในการลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้เริ่มต้น แน่นอนว่าเป็นคำตอบที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการคิดตริตรอง แต่ในทางหนึ่ง แม้ว่าเราจะแน่ใจในส่วนของเงินทุน เป้าหมาย และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น การพิจารณาองค์ประกอบเพิ่มเติมอีกขั้นหนึ่งก็จะช่วยให้การเตรียมพร้อมนั้น มีความรัดกุมและสร้างผลต่างทางกำไรได้อย่างคาดไม่ถึง -มองไกลให้ถึงผลตอบแทน (Credits: sparkminute.com) แม้ว่าการตัดสินใจลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์หนึ่งๆ จะมีความมุ่งหมายทางด้านผลตอบแทนที่เป็นเป้าหลัก แต่ทั้งนี้ การมองในระยะยาว พิจารณาผลตอบแทนเปรียบเทียบกันในแต่ละประเภทนั้น จะช่วยให้คุณเห็นภาพชัดเจนว่า การลงทุนนั้นๆ เมื่อมองจากในระยะยาวแล้ว คุ้มค่าจริงหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับความไม่แน่นอนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม จนถึงการเมืองในปัจจุบันที่พร้อมจะเปลี่ยนการลงทุนในฝันให้กลายเป็นเผือกร้อนได้ในพริบตา -คัดสรรตัวช่วย (Credits: moneysavingexpert.com) เงินทุนอาจจะเป็นประเด็นสำคัญที่จะชี้วัดว่าคุณมีขีดความสามารถในการลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์ได้ในระดับใด แต่ไม่ใช่ทั้งหมด...

บ้านหลังนี้ ดีพอหรือไม่ที่จะ ‘แก่’ ไปด้วยกัน

ขึ้นชื่อว่าบ้านแล้วนั้น การจะตัดสินใจเลือกซื้อสักครั้ง ย่อมหลีกไม่พ้นการพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าจะด้วยความสะดวกในการเดินทาง ความรอบด้านของสาธารณูปโภค รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัย แน่นอนว่าทั้งหมด ย่อมถูกนำมารวมในสมการคิดของใครต่อใครหลายคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่มักจะถูกมองข้ามอยู่เสมอนั้น คือความเหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยเมื่อผู้เป็นเจ้าของนั้น ‘แก่ตัวลง’ จนย่างเข้าสู่ชีวิตบั้นปลายวัยเกษียณ ซึ่งอาจจะเป็นในอีกยี่สิบ หรือสามสิบปีข้างหน้า Credits: www.afoolsjourney.com อ่านมาจนถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะรู้สึกว่าเรื่องเหล่านี้ ดูจะไกลตัวเหลือเกิน ในยามที่ดอกเบี้ยและการผ่อนชำระสินเชื่อธนาคารยังคงตามประกบในทุกเดือน อย่างไรก็ดี วาระแห่งการเข้าถึงสำหรับผู้ใช้งานทุกรูปแบบ (Universal Accessibility) เริ่มกลายเป็นกระแสที่มีการกล่าวถึงในแวดวงงานก่อสร้างและการออกแบบมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป...

เช่าอยู่ หรือซื้อขาด: คำถามตอบยากสำหรับผู้อยู่อาศัย? (ตอนที่ 2)

ในบทความตอนที่แล้ว เราแจกแจงถึงข้อดีข้อเสียของการเช่าอยู่อสังหาริมทรัพย์กันไปบ้างแล้ว และในบทความตอนที่ 2 นี้ เราจะมากล่าวถึงมุมมองอีกด้าน ของการซื้อขาดอสังหาริมทรัพย์ถาวรกันในรายละเอียดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น //ซื้อขาด (Owning) มีข้อดีคือ… -กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ซื้อ: รายได้และเงินดาวน์ที่ลงให้กับอสังหาริมทรัพย์หนึ่งๆ ถือได้ว่าเป็นกรรมสิทธิ์ขาดของผู้ซื้อ รวมถึงเป็นการลงทุนระยะยาวที่เหมาะสม เพราะมูลค่าของสินทรัพย์เหล่านี้ จะเพิ่มสูงขึ้นตามระยะเวลาจนสามารถคืนทุนให้กับเงินกู้หรือสินเชื่อในเบื้องต้น แม้ว่าการลงทุนในช่วงแรกนั้นจะ ‘แพง’ ไปสักนิดก็ตามwww.robcampbellrealty.com www.trendhunter.com-ลดหย่อนภาษี: ตามกฏหมายภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ผู้ซื้อขาดอสังหาริมทรัพย์ (ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว หรือคอนโดมิเนียม) สามารถลดหย่อนภาษาได้ 10% จากมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์...