Home Search
ltv - search results
If you're not happy with the results, please do another search
จับตาปัจจัยเสี่ยง ป่วนตลาดอสังหาปี 62
ปีหน้าดอกเบี้ยจ่อขยับ พร้อมเกณฑ์คุมสินเชื่อที่อยู่อาศัย ฉบับใหม่ป่วน ตลาดอสังหา ปี 2562 แน่นอน เพราะในปัจจุบันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังต้องเจอกับปัจจัยเสี่ยงทั้งอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มขยับขึ้น และปี 2562 ยังต้องเจอเกณฑ์ควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ ที่จะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย. 2562 และ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่เตรียมประกาศใช้ในวันที่ 1 ม.ค. ปี 2563 อีกด้วย
จับตาปัจจัยเสี่ยง...
ปี 2019 อสังหาฯโตแผ่ว คาดคอนโด สะสม หลายแสนยูนิต
"ไนท์แฟรงค์" คาดแนวโน้ม ตลาดคอนโด ปีหน้าโตแผ่ว ดีเวลลอปเปอร์ ชะลอเปิดโครงการใหม่ หลังพบซัพพลายคอนโด สะสมเฉียด 5 แสนยูนิตรอระบาย แนะเร่งกระจายเสี่ยงธุรกิจหันลงทุนนิคม อาคารเช่า โรงแรมยังโตดี พบดีมานด์คนไทยซื้ออสังหาฯชะลอ 1-2 ปีที่ผ่านมา อานิสงส์จีนพยุงตลาด
ตลาดที่อยู่อาศัยในปีนี้ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมเผชิญการแข่งขันดุเดือดจากซัพพลายสะสมในตลาดหลายแสนยูนิต ซึ่งยัง คงเป็นความท้าทายตลาดอสังหาฯปีหน้า ในการระบายสต็อกดังกล่าว ซึ่งที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ ประเมินว่าจะกดดันให้ตลาดอสังหาฯปีหน้าโตชะลอ
นายพนม กาญจนเทียมเท่า...
คอนโดในเมืองเสี่ยงล้ม หากต่างชาติซื้อแล้วไม่โอนกรรมสิทธิ์
มีปัจจัยหลายประการส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนในตลาด คอนโด ในกรุงเทพฯ แม้ว่าจะมีการเปิดตัวโครงการใหม่เกิดขึ้นมาก แต่ยอดขายจากผู้ซื้อชาวไทยเริ่มชะลอตัวลงในบางทำเลและอาจมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวต่อไปอีกจากมาตรการเรื่องการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้าขณะที่ผู้พัฒนาโครงการบางรายพยายามที่จะหาทำเลที่ตอบโจทย์ความต้องการจากกลุ่มผู้ซื้อคนไทยที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง พัฒนาโครงการในระดับราคาที่สอดคล้องกับกำลังซื้อของตลาด แต่ผู้พัฒนาโครงการบางรายปรับเพิ่มสัดส่วนการขายให้กับผู้ซื้อชาวต่างชาติซึ่งอาจซื้อเพื่อการลงทุนโดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์เข้าอยู่อาศัยจริง
ทั้งนี้ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กำหนดมาตรการกำกับดูแลการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เข้มงวดขึ้น โดยการปรับลดอัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV) ให้แก่ผู้ซื้อบางกลุ่ม เพื่อลดความเสี่ยงด้านสินเชื่อและความเสี่ยงในตลาดอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้ดีขึ้น โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2562 เป็นต้นไปนั้นจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรกซึ่งเป็นความต้องการอยู่อาศัยที่แท้จริง มากกว่านักลงทุนจะช่วยชะลอความร้อนแรงและสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดโดยรวม
อลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท...
แนะเพิ่มกำลังซื้อบ้านและคอนโด ควรลดดอกเบี้ยบ้าน เพื่อเพิ่มกำลังซื้อบ้าน
นายวิทย์ กุลธนวิภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แคปปิตอล วัน เรียลเอสเตท บริษัทที่ปรึกษาทางด้านอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า จากมาตรการกำกับการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศใช้มีผลกระทบ ต่อตลาดเชิงจิตวิทยาทำให้ลูกค้าชะลอกำลังซื้อ จึงต้องการให้พิจารณาถึงมาตรการ ช่วยเหลือหรือเพิ่มกำลังซื้อ เช่นการกำหนดอัตรา ดอกเบี้ย สินเชื่อการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยให้ลดลงจากอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน ซึ่งธนาคารปัจจุบันส่วนใหญ่จะปล่อยสินเชื่อในอัตราเฉลี่ยตลอดอายุสัญญา 5.5-6.5% ต่อปี ซึ่งถือว่าสูงเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชีย เช่น...
คุมเข้มสินเชื่อบ้าน มีผล 1 เม.ย. 62 ปีหน้า พร้อมสัญญาแรกผ่อน 3 ปีขึ้น
ธปท. คลอดเกณฑ์กำกับ สินเชื่อที่อยู่อาศัย มีผล 1 เม.ย. 62 เปิดช่อง สัญญาแรกผ่อน 3 ปีขึ้นไปสัญญาที่สองให้ดาวน์ 10% ถ้าผ่อนไม่ถึง 3 ปีต้องดาวน์ 20% กู้สัญญาที่ 3 ขึ้นไปต้องดาวน์ 30% สกัด ดีมานด์เทียม-ฟองสบู่อสังหาฯ ดีเวลอปเปอร์จุกคอนโด ล้านต้นๆ...
นโยบาย Macroprudential สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ดีจริงหรือสำหรับคนรายได้น้อย
หลังจากที่เมื่อเร็วๆนี้ ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) ได้เสนอ นโยบาย Macroprudential สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โดย Macroprudential หรือ มาตรการดูแลความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมหภาค โดยจะทำการศึกษาเกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ การจ้างงาน ระดับราคา พฤติกรรมการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคของครัวเรือน เพื่อที่จะนำมาประเมินสำหรับการอนุมัติ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
จากสาเหตุที่ทาง ธปท แสดงความกังวลต่อเรื่องการแข่งขันในตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย อาจทำให้เกิดความย่อหย่อนในมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อ ดังนั้น นโยบายนี้จึงจะมาช่วยในการ ปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย...
ผู้กู้บ้าน ต้องปรับตัว วางดาวน์ขั้นต่ำ 20% ฝั่งธนาคารเอกชนเตรียมแผน 2 รับมือ
หลังจากที่แบงก์ชาติยังคงไม่ปล่อยสินเชื่อให้โดยง่าย ทำให้หลายๆ ธนาคารเอกชน วางหมากปรับกลยุทธ์กันหลายแห่ง บางธนาคารอยู่ระหว่างศึกษาผลกระทบจากหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยต่อผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเสนอคณะกรรมการธนาคาร ในการปรับแผนกลยุทธ์การปล่อยสินเชื่อ ด้าน ผู้กู้บ้านก็ต้องปรับตัวเช่นกันโดยอาจจะต้องวางเงินดาวน์เพื่อที่จะให้ธนาคารปล่อยกู้ได้ง่ายขึ้น
ผู้กู้บ้าน ต้องปรับตัว วางดาวน์ขั้นต่ำ
สำหรับผู้ที่ต้องการจะกู้บ้านอาจจะต้องปรับตัวเพราะแบงก์ชาติไม่ผ่อนกฎเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อ โดยในเวลานี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้กู้รายใหม่จะอยู่ 100,000 บัญชี ต่อปี มียอดมูลค่ารวม 300,000 ล้านบาท โดยบ้านแนวราบปัจจุบันไม่มีการซื้อเก็งกำไร แต่ถูกผลกระทบไปเต็มๆ ทำให้ผู้ทำเรื่องขอกู้ซื้อบ้านหลังแรกอาจจะต้องวางเงินดาวน์ขั้นต่ำ 20% โดย LTV...
เตรียมคุมเข้ม ปล่อยกู้บ้านหลังที่ 2
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณชน แนวทางการกำกับดูแลการปล่อย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัยในเร็วๆ นี้ หลังจากที่ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนแล้ว และจัดทำร่างหลัก การกำกับดูแล ซึ่งหลังรับฟังความคิดเห็นแล้วเสร็จก็จะประกาศใช้ต่อไป
"เราเห็นแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับผู้ซื้อบ้านเพื่อกินส่วนต่างราคาที่เพิ่มขึ้น การแข่งขันที่สูงขึ้นของตลาดทำให้ธนาคารบางแห่งให้เงินกู้เกินหลักประกันแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้นและนำไปสู่หนี้เสีย โดยเฉพาะสินเชื่อบ้านหลังที่ 2และ3" ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ทั้งนี้ ธปท.พร้อมใช้มาตรการกำกับดูแล (Macro Prudential) ควบคู่กับนโยบายการเงินในการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน โดยการกำกับดูแลนี้เพื่อลดการประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร...
ดอกเบี้ย-สินเชื่อ-เก็งกำไร คือตัวแปร ฟองสบู่แตก ในอนาคต จริงหรือ..?
บทสัมภาษณ์พิเศษจาก prachachat...กระแสฟองสบู่วงการ อสังหาริมทรัพย์ ได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นระยะ ๆ กล่าวสำหรับปี 2561 มีปรากฏการณ์พิเศษจาก 2 เงื่อนไขหลักที่นำไปสู่ข้อวิตกกังวลของแบงก์ชาติ ทางหนึ่งคือมีลูกค้าจีนจำนวนมากช็อปซื้อคอนโดมิเนียม
ล่าสุดมียอดเงินโอนจากต่างชาติเข้ามาซื้ออสังหาฯไทยในปี 2560 กว่า 7 หมื่นล้านบาท อีกทางหนึ่งมาจากแคมเปญการตลาดแบบโจ๋งครึ่มที่จั่วหัวดึงดูดลูกค้านักลงทุน โดยการันตีผลตอบแทน 4-7% เป็นเวลา 2-4 ปี จนหวั่นเป็นการสร้างดีมานด์เทียม
สัมภาษณ์พิเศษ...
หนี้เสียบ้านพุ่งจากสินเชื่อผ่อนปรน…?
นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูลย์ ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัยไทย กล่าวว่า เห็นด้วยที่ขณะที่นี้ ธปท.กำลังเตรียมออกมาตรการดูแลสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย เนื่องจากปัจจุบันพบว่า สินเชื่อที่อยู่อาศัยมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิด หนี้เสีย ขึ้นมาก การที่ธปท.ออกมาดูแลจึงเป็นเรื่องที่ดี
เพราะปัญหาของสินเชื่อที่อยู่อาศัยในขณะนี้ มาจากการปล่อยสินเชื่อที่ผ่อนปรนเกินไป เช่น การกำหนดการให้สินเชื่อต่อมูลค่าบ้านหรือแอลทีวี ที่ปัจจุบันมี มีการกำหนดแอลทีวี ในระดับสูงที่ 90-95% ถือเป็นระดับสูงสุดหากเทียบกับประเทศอื่นๆทั่วโลกที่ มีการกำหนด การให้แอลทีวีไว้ราว 70-80%
และถึงแม้ว่าบางประเทศจะมีการให้วงเงินเกินไป นอกจากแบงก์จะต้องสำรองเงินกองทุนเพิ่มแล้ว ในส่วนที่ให้วงเงินสินเชื่อเกินจาก...