หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2560 ตามที่กระทรวงการคลังนำเสนอเป็นที่เรียบร้อย โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป โดยใช้แทนพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และ พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 เดิม โดยหลายๆท่านอาจจะยังไม่ทราบกันว่า เจ้าพ.ร.บ ฉนับนี้มีเนื้อหาอะไรบ้างและดีหรือไม่เราผู้เสียภาษีจะต้องรู้อะไรบ้างไปหาคำตอบกันเลยค่ะ
เพราะอะไรร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2560 ฉบับใหม่ จึงเกิดขึ้น
สาเหตุหลักๆเพราะว่า ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ได้ร่างมานาน ส่งผลให้การเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่มีปัญหาบวกกับข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวอัตราภาษี และการลดหย่อนภาษี ไม่สอดคล้องกับสภาวะในปัจจุบัน ส่งผลให้ภาคท้องถิ่น มีรายได้และงบไม่เพียงพอสำหรับพัฒนาท้องถิ่น จึงร่าง พ.ร.บ.นี้ออกมาแก้ไข
สรุปสาระสำคัญร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ได้ ดังนี้
1.แก้ไขพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508
2.ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของที่ดินต่างๆหรือสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ
3.หน่วยงานที่จัดเก็บภาษี ได้แก่ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยรายได้ภาษีที่จัดเก็บได้จะเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท). โดยสามารถที่นำเงินไปใช้พัฒนาท้องถิ่นต่อไป
4.ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ร้านค้าและห้องชุด
5.ฐานภาษีที่ต้องจ่ายมีดังนี้ 1 มูลค่าทั้งหมดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยคำนวณมาจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ตามราคาประเมินทุนทรัพย์แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยเราสามารถเข้าไปดูได้ที่ ราคาประเมินที่เว็บไซต์ https://goo.gl/XoQFQb นี้ค่ะ
- อัตราภาษีที่กำหนดในพระราชบัญญัติโดยอัตราสูงสุดที่จะจัดเก็บภาษีของผู้เป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ โดยจะจัดแบ่งอัตราภาษีดังกล่าวออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
– อาชีพเกษตรกรรมจัดเก็บภาษีได้ในอัตราสูงสุดไม่เกิน 0.2%
– สำหรับที่พักอาศัยที่เกิน 50 ล้าน ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราสูงสุดไม่เกิน 0.5%
– พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น) ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราสูงสุดไม่เกิน 2%
– ที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าไม่ได้ทำประโยชน์ ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราสูงสุดไม่เกิน 5%
- อัตราภาษีที่ใช้จัดเก็บจริงจะกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา โดยกำหนดเป็นอัตราก้าวหน้าเพิ่มขึ้นตามมูลค่าของฐานภาษี ดังนี้
– อาชีพเกษตรกรรม เริ่มตั้งแต่ 0-0.1% ของฐานภาษี
– ที่พักอาศัยหลัก ส่วน 50 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่ 0.05-0.1% และที่พักอาศัยหลังอื่น ตั้งแต่ 0.03-0.3% ของฐานภาษี
– ประเภทอื่น ๆ ตั้งแต่ 0.3-1.5% ของฐานภาษี
– ที่ดินว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพที่ดิน จะจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทุก 3 ปี โดยในปีที่ 1-3 เก็บในอัตรา 1% ของฐานภาษี ปีที่ 4-6 เก็บในอัตรา 2% ของฐานภาษี ปีที่ 7 เป็นต้นไป เก็บในอัตรา 3%
- ยกเว้นภาษีให้แก่ทรัพย์สินบางประเภท เช่น สาธารณสมบัติ ทรัพย์สินของรัฐที่ไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์ ทรัพย์สินของสถานทูต ทรัพย์สินของสภากาชาดไทย ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดและที่ดินสาธารณูปโภคของโครงการจัดสรรที่มิได้ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ทรัพย์สินของเอกชนที่ได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ และบ้านพักอาศัยหลักในส่วนที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท เป็นต้น
Dot Property เว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ ซื้อ-ขาย อย่างมืออาชีพ…
ท่านต้องการขายอสังหาริมทรัพย์อยู่หรือไม่ ลงประกาศขายกับ Dot Property ฟรี!!! ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงประกาศง่าย ขายได้ไว
หรือหากท่านกำลังมองหา คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน เว็บไซต์ Dot Property มีให้ท่านเลือกมากกว่า 300,000 รายการ ได้ตรงตามความต้องการ ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย