ขออภัย, ไม่พบประกาศที่คุณค้นหาตามเงื่อนไขที่ระบุ
ลองค้นหาจากเงื่อนไขอื่นๆที่ใกล้เคียงกัน
ลองค้นหาจากเงื่อนไขอื่นๆที่ใกล้เคียงกัน
การซื้อที่ดินต้องระมัดระวังในหลาย ๆ เรื่อง วันนี้เราจะพูดถึง ภาระจำยอมในที่ดิน สิ่งที่คุณอาจไม่ทราบมาก่อน ซึ่งภาระจำยอมในที่ดินนี้คุณไม่ได้ต้องการเลยล่ะ
ภาระจำยอมในที่ดิน เป็นทรัพยสิทธิประเภทหนึ่งที่ตัดทอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น อันทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น ต้องยอมรับภาระบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนอำนาจกรรมสิทธิ์ เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ตัวอย่างภาระจำยอมที่พบเห็นบ่อย ๆ คือ การยินยอมให้ชายคาบ้านของผู้อื่นล้ำในเขตที่ดินของตนเอง หรือการไม่ปลูกสร้างอาคารเพื่อเปิดรับทางลม การจำยอมให้มีการสร้างถนนเพื่อเปิดทางเข้า-ออกแก่ที่ดินใกล้เคียง เป็นต้น
ในทางกฎหมายนั้นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ประโยชน์จากภาระจำยอมเรียกว่า " สามยทรัพย์ " ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในบังคับภาระจำยอมเรียกว่า " ภารยทรัพย์ " โดยสิทธิ และ หน้าที่ของ เจ้าของภารยทรัพย์มีดังนี้คือ
1. ต้องไม่ประกอบการใด ๆ เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมนั้นลดลงไป
2. เจ้าของสามยทรัพย์ ไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงใน ภารยทรัพย์ หรือ ในสามยทรัพย์ อันเป็นการเพิ่มภาระแก่ ภารยทรัพย์
3. เจ้าของสามยทรัพย์ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อรักษาและ ใช้ภาระจำยอม และ ต้องให้ภารยทรัพย์เสียหายน้อยที่สุด
4. ถ้าความต้องการของเจ้าของสามยทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าของสามยทรัพย์ ที่จะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้น แก่ภารยทรัพย์
5. เจ้าของภารยทรัพย์อาจจะขอย้ายไปส่วนอื่น ก็ได้ แต่การย้ายนั้น ต้องไม่ ทำให้ความสะดวกแห่งสามยทรัพย์ลดน้อยลงไป
6. ถ้ามีการแบ่งภารยทรัพย์ ภาระจำยอมก็คงมีอยู่ทุกส่วน ที่แยกออกไป แต่ถ้าส่วนใดไม่ใช้ หรือ ใช้ไม่ได้ เจ้าของส่วนอาจเรียกหรือ ขอให้พ้นจากภาระจำยอมได้
7. เมื่อสามยทรัพย์ได้จำหน่ายออกไปภาระจำยอมย่อมติดไปด้วย เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ภาระจำยอมจะสิ้นสุดเมื่อไหร่นั้น ในทางกฎหมายมีข้อกำหนดที่ชัดเจนว่า
1. ถ้า ภารยทรัพย์ หรือ สามยทรัพย์ สลายไปทั้งหมดเท่ากับภาระจำยอมจะสิ้นไปโดยอัตโนมัติ
2. เมื่อภารยทรัพย์ หรือ สามยทรัพย์ ตกเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เจ้าของสามารถขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมได้
3. ภาระจำยอมไม่ได้ใช้ 10 ปี ติดต่อกัน ภาระจำยอม ย่อมหมดสิ้นไป
4. ภาระจำยอมหมด ประโยชน์ แก่สามยทรัพย์
5. เมื่อภาระจำยอมนั้น ยังประโยชน์ ให้แก่ สามยทรัพย์นั้น น้อยมาก เจ้าของภารยทรัพย์ขอให้พ้นจากภาระจำยอมทั้งหมด หรือ แต่บางส่วนก็ได้ แต่ต้องใช้ค่าทดแทน